เลขโรมัน
เลขโรมัน เป็นระบบตัวเลขที่ใช้ในโรมโบราณ เลขโรมันถือเป็น ระบบเลขไม่มีหลัก หมายความว่า ไม่ว่าจะเขียนตัวเลขแต่ละตัวไว้ ณ ตำแหน่งใดของค่าตัวเลขนั้นจะมีค่าคงที่เสมอ ระบบเลขโรมันมีสัญลักษณ์ที่ใช้กันดังนี้
นอกจากนี้ ยังมีสัญลักษณ์อื่นที่ไม่ได้ใช้ในระบบเลขโรมันปัจจุบัน แต่ปรากฏอยู่ในรหัสยูนิโคด ดังนี้
ↀ (U+2180) มีค่าเท่ากับ 1,000
ↁ (U+2181) มีค่าเท่ากับ 5,000
ↂ (U+2182) มีค่าเท่ากับ 10,000
ↇ (U+2187) มีค่าเท่ากับ 50,000
ↈ (U+2188) มีค่าเท่ากับ 100,000
การเขียนเลขโรมัน
การเขียนเลขโรมัน สามารถเขียนแทนเฉพาะจำนวนเต็มบวกเท่านั้น เนื่องจากในสมัยก่อนโรมยังไม่มีสัญลักษณ์แทนเลขศูนย์หรือเลขทศนิยม โดยให้เขียนจากสัญลักษณ์ที่มีค่ามากแล้วลดหลั่นกันไปยังสัญลักษณ์ที่มีค่าน้อย เช่น
§ MCCCXXV มีค่าเท่ากับ 1,000 + 300 + 20 + 5 = 1,325
§ MMMDLXVII มีค่าเท่ากับ 3,000 + 500 + 60 + 7 = 3,567
ถ้าเขียนสัญลักษณ์ที่มีค่าน้อยกว่าไว้ด้านหน้าสัญลักษณ์ที่มีค่ามากกว่า ค่าของจำนวนที่ได้จะมีค่าเท่ากับจำนวนที่มีค่ามากลบด้วยจำนวนที่มีค่าน้อย และจะเขียนสัญลักษณ์เพียงคู่เดียวในแต่ละหลักเท่านั้น เช่น
§ IX มีค่าเท่ากับ 10 − 1 = 9
§ XL มีค่าเท่ากับ 50 − 10 = 40
§ MCMLXXVII มีค่าเท่ากับ 1,000 + (1,000 − 100) + 70 + 7 = 1,977
§ MMCDLXVIII มีค่าเท่ากับ 2,000 + (500 − 100) + 60 + 8 = 2,468
จำนวนที่มีค่าเกินกว่าที่กำหนดไว้ตามสัญลักษณ์ดังกล่าว จะเขียน บาร์ (ขีด) ไว้บนสัญลักษณ์เหล่านี้ ซึ่งหากบาร์ถูกกำหนดไว้บนสัญลักษณ์ใด สัญลักษณ์นั้นจะแทนจำนวนซึ่งมีค่าเท่ากับสัญลักษณ์นั้นคูณด้วย 1,000 เช่น
§ V มีค่าเท่ากับ 5 × 1,000 = 5,000
§ X มีค่าเท่ากับ 10 × 1,000 = 10,000
§ L มีค่าเท่ากับ 50 × 1,000 = 50,000
§ C มีค่าเท่ากับ 100 × 1,000 = 100,000
§ D มีค่าเท่ากับ 500 × 1,000 = 500,000
§ M มีค่าเท่ากับ 1,000 × 1,000 = 1,000,000
โดยปกติแล้ว การเขียนเลขโรมันจะไม่เขียนสัญลักษณ์เดียวกันอยู่ติดกันตั้งแต่ 4 ตัวขึ้นไป ยกเว้นบนหน้าปัดนาฬิกา ที่จะใช้ IIII แทนเวลา 4 นาฬิกาหรือ 16 นาฬิกา เพื่อป้องกันความสับสนในการอ่านเวลา
ตัวอย่างการเขียนเลขโรมัน
เลขโรมัน | ค่าของตัวเลข | เลขโรมัน | เลขอารบิก | ค่าของตัวเลข | |
I | 1 | หนึ่ง | C | 100 | หนึ่งร้อย |
II | 2 | สอง | CC | 200 | สองร้อย |
III | 3 | สาม | CCC | 300 | สามร้อย |
IV | 4 | สี่ | CD | 400 | สี่ร้อย |
V | 5 | ห้า | D | 500 | ห้าร้อย |
VI | 6 | หก | DC | 600 | หกร้อย |
VII | 7 | เจ็ด | DCC | 700 | เจ็ดร้อย |
VIII | 8 | แปด | DCCC | 800 | แปดร้อย |
IX | 9 | เก้า | CM | 900 | เก้าร้อย |
X | 10 | สิบ | M | 1,000 | หนึ่งพัน |
XI | 11 | สิบเอ็ด | MM | 2,000 | สองพัน |
XII | 12 | สิบสอง | MMX | 2,010 | สองพันสิบ |
XX | 20 | ยี่สิบ | MMDLIII | 2,553 | สองพันห้าร้อยห้าสิบสาม |
XXX | 30 | สามสิบ | MMM | 3,000 | สามพัน |
XL | 40 | สี่สิบ | MMMCMXCIX | 3,999 | สามพันเก้าร้อยเก้าสิบเก้า |
L | 50 | ห้าสิบ | | | |
LX | 60 | หกสิบ | | | |
LXX | 70 | เจ็ดสิบ | | | |
LXXX | 80 | แปดสิบ | | | |
XC | 90 | เก้าสิบ | |
| |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น