วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554

จอ touch screen ใช้ง่ายแต่เชื้อโรคเพียบ

อย่านอนใจว่าไฮเทค จนลืมตรวจเช็คความสะอาดจนไม่สบาย

         คุณเป็นคนหนึ่งหรือเปล่าคะที่มีอุปกรณ์ไฮเทคแบบ touch screen ติดตัวไว้เท่ห์เสมอ ๆ แต่รู้ไหมคะว่า การที่คุณพกของเหล่านี้แล้วไม่ดูแลให้ดี มันก็เหมือนคุณพก "ส้วม" ไปไหนมาไหนด้วยไม่มีผิด

         เรื่องนี้ได้รับการเปิดเผยจาก ทิมโมธี จูเลียน นักศึกษาปริญญาเอกแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดที่กล่าวว่า จากผลการศึกษาพบว่า หน้าจอทัชสกรีนเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคดี ๆ นี่เอง เพราะคุณไม่มีทางรู้ว่า ก่อนที่ไปสัมผัสหน้าจอ มือและนิ้วของคุณไปสัมผัสกับสิ่งสกปรกอะไรมาบ้าง และคนโดยส่วนใหญ่ก็ไม่มีอนามัยมากพอที่จะล้างมือตลอดเวลา หรือล้างมือก่อนมาใช้จอทัชสกรีน

         เขายังกล่าวเสริมให้น่าตกใจอีกว่า 
เมื่อ ไหร่ก็ตามที่คุณนำสิ่งสกปรกมาสัมผัสหรือสะสมไว้ที่หน้าจอ เชื้อโรคประมาณ 30% จะติดไปกับนิ้วมือคุณทันทีที่คุณแตะจอทัชสกรีน และมีความเป็นไปได้สูงมาก ที่เชื้อโรคเหล่านี้จะเข้าสู่ร่างกายทางปาก จมูก และดวงตา เพราะคุณอาจใช้นิ้วขยี้ตา จับปากหรือเกาจมูกโดยไม่รู้ตัว 

        นอกจากนี้ยังมีผลงานวิจัยของอังกฤษระบุว่า โทรศัพท์มือถือที่เราต้องนำมาใช้แนบแก้มแนบหูกันตลอดเวลา ก็มีสิ่งสกปรกมากกว่าที่คันกดชักโครกในห้องน้ำชายถึง 18 เท่าเลยทีเดียว โดยเฉพาะเชื้อโรคที่มีชื่อว่า E. coli และ Staphyloccocus aureus ซึ่งเป็นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคผิวหนัง สิว ฝีหนอง และถ้าได้รับเชื้อมาก ๆ ก็ทำให้ปอดอักเสบ หรือติดเชื้อในกระแสเลือดได้เลยทีเดียว 

         
น่า กลัวใช่ไหมล่ะคะ แค่อุปกรณ์ไฮเทคที่ใช้กันเพลิน จนเราลืมไปว่า มันก็สามารถสะสมเชื้อโรคได้เช่นกัน แต่เขาก็มีวิธีแนะนำในการใช้ และทำความสะอาดอุปกรณ์ทัชสกรีนมาเพื่อหลีกเลี่ยงเชื้อโรคด้วยค่ะ ลองไปดูกันเลย

   1. ใช้นำยาทำความสะอาดหน้าจอทัชสกรีนโดยเฉพาะ ทำความสะอาดอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง หรือเมื่อเห็นว่าหน้าจอมีคราบสิ่งสกปรกติดอยู่

     
 2. ไม่ควรใช้อุปกรณ์ทัชกรีนร่วมกับผู้อื่น เพราะอุปกรณ์อาจจะได้รับเชื้อโรคจากคนอื่น หรือแพร่เชื้อโรคให้คนอื่นได้ แต่หากจำเป็นต้องใช้ร่วมกัน ก็ควรทำความสะอาดทุกครั้งหลังจากใช้เสร็จ

     
 3. ควรล้างมือทั้งก่อนและหลังใช้อุปกรณ์ทัชสกรีน อาจจะยุ่งยากไปหน่อย แต่ก็สามารถช่วยยับยั้งการแพร่เชื้อโรคได้ดีที่สุด
      4. ระหว่างใช้อุปกรณ์ทัชสกรีน ไม่ควรใช้มือ หรือนิ้วมาสัมผัสร่างกาย ในส่วนที่เชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย เช่น ตา ปาก จมูก รูหู หรือผิวหนังบริเวณที่มีบาดแผล

      
5. หลังจากใช้อุปกรณ์เสร็จแล้ว ควรเก็บในที่มิดชิด เช่น ใส่กระเป๋าเก็บอุปกรณ์โดยเฉพาะ ไม่ควรวางไว้ในที่โล่ง หรือที่ที่เชื้อโรคจะสามารถแพร่กระจายมาสู่อุปกรณ์ของเราได้

      
  ไม่ใช่แต่อุปกรณ์ทัชสกรีนหรือเครื่องมือทันสมัยเท่านั้นค่ะ สิ่งของรอบตัวที่เราอาจจะต้องใช้ร่วมกับคนอื่น เราก็ต้องระวังไว้เช่นกัน เช่น ราวบันได ปุ่มกดในลิฟท์ เก้าอี้นั่งบนรถเมล์หรือรถไฟฟ้า สิ่งเหล่านี้ก็เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ที่เรามักจะไปสัมผัสโดยไม่รู้ตัวเช่นกันค่ะ และถึงแม้เราจะตามไปทำความสะอาดของพวกนี้ไม่ได้ แต่ให้รักษาความสะอาดของตัวเราเองเป็นหลักก็พอ

วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Thon Buri is next


The entire Thon Buri area is expected to be submerged within three days as water levels in canals and the Chao Phyara river appear to be too high for defences to cope.


Deep floodwaters near the Boromratchonnanee elevated road on the way toward Taling Chan in Thonburi forced many city people to shift their mode of travel to boats. APICHART JINAKUL


All of Thon Buri faces inundation

Defence of west part of Chao Phraya in jeopardy


The entire Thon Buri area is expected to be submerged within three days due to signs that northern run-off couldoverwhelm attempts by City Hall and irrigation officials to defend the western part of the Chao Phraya River.

With floodwater levels rising by between 50cm and 1m, Chainat Niyomthoon, deputy director of the Bangkok Metropolitan Administration's Department of Drainage and Sewerage, expected the water to eventually overflowseveral canals including Khlong Maha Sawat in Thawi Watthana district.

"We have received information about high water levels in several canals, particularly Khlong Maha Sawat, a main canal in the Thon Buri area," Mr Chainat said yesterday.

The BMA and navy were jointly installing 180 sheet piles to reinforce the dyke along Maha Sawat canal but the water level appeared to be too much to handle.

That prompted Bangkok Governor Sukhumbhand Paribatra to announce last night that residents living in all areas of Thawi Watthana should immediately evacuate to higher ground.



Carefree and cheerful, children enjoy floodwater which turns the underpass at the Bang Phlat intersection into a swimming pool-like zone. Nearby Charan Sanitwong Road was flooded by overflow from the Chao Phraya River after parts of theembankment collapsed. PATTARACHAI PREECHAPANICH


Thawi Watthana is the fourth district in Bangkok where people have been ordered to leave their homes, besides Don Muang, Bang Phlat and Sai Mai.

Apart from Khlong Maha Sawat, the southern railway track, which runs parallel to the canal, is another barrier to prevent floodwaters going downstream.

But Chaiyaporn Promsuwan, director of the Irrigation Office's Phra Pimol irrigation project, said the track, which is 3m above sea level, could be inundated and was unable to shield Thon Buri from flooding.

"The southern track may not be able to withstand [the massive volume of floodwater] in the next two to three days. This will result in heavy flooding in Bangkok's Thon Buri and adjacent areas in Nakhon Pathom," Mr Chaiyaporn said.

If floodwaters managed to breach the southern track, the lower part of Bangkok would be badly hit, he added.

"Severe damage will happen if people are not evacuated from the area before anticipated floods arrive," he warned.

Meanwhile, several areas in Bang Khen district have been inundated, forcing residents to leave their houses to take refuge at nine shelter centres in the district.

The BMA has sped up the drainage of water from Khlong Song canal in Sai Mai district through other canals in the adjacent Bang Khen district before draining it to the Chao Phraya River.

The BMA has placed Bang Khen under special watch as a huge amount of the northern run-off was flowing into the district, MR Sukhumbhand said.

The flooding in Bangkok is still worrisome as the water level of the Chao Phraya River is expected to rise to between 2.5-2.6 metres above sea level today as a result of high sea tides.

You can read the full story here: http://bit.ly/sUZLGX

elevated – raised above the ground, or higher than the surrounding area ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงกว่าสิ่งอื่น
shift – to change เปลี่ยน
mode – a particular way of doing something; a particular type of something แบบ, วิธีการ
inundation – flooding น้ำท่วม
defence – protecting somebody/something from damage, attack, etc. การป้องกัน, การต้าน
jeopardy – in danger of being harmed or damaged อันตราย,ภัย,การเสี่ยงอันตราย
submerged – under water จมน้ำ อยู่ใต้น้ำ
due to – because of เนื่องจาก
run-off – rain, water or other liquid that runs off land into streams and rivers น้ำหลาก
overwhelm – to cover somebody/something completely ท่วมท้น, ,คว่ำ, ครอบงำ,ปกคลุม
Royal Irrigation Department – The Thai government department in charge of the country's irrigation system กรมชลประทาน
level – the amount of liquid that there is in a container, river, dam, etc., which can be seen by how high the liquid is ระดับ
Bangkok Metropolitan Administration (BMA) – the local government of Bangkok กรุงเทพมหานคร
drainage – the process of taking away of water or other liquids from an area การระบายน้ำ
sewer – an underground pipe or passage that carries sewage (liquid waste) ท่อน้ำเสีย, ท่อระบายน้ำ
eventually – at the end of a period of time or at the end of a process ในที่สุด
overflow – (of a river or body of water) to flood the land next to it ไหลล้น
jointly – done together อย่างร่วมกัน, พร้อมกัน, ด้วยกัน
pile (or piling) – a large strong post or sheet that is driven into the ground to support a building or other structure เสาเข็ม
reinforce – to make stronger เสริมให้แข็งแรงขึ้น
dyke – a wall built to prevent the sea or a river from covering an area, or a channel dug to take water away from an area เขื่อนกั้นน้ำ
appear – to seem ดูเหมือนจะ, ดูเหมือนว่า
handle – to take action in order to deal with a difficult situation ดูแล, จัดการ
prompted – caused ก่อให้เกิด
residents – people who live in a particular area ประชาชนที่อาศัยในท้องที่
immediately – happening right after something else with no delay; right away ทันที
evacuate – to leave a place because it is not safe อพยพออกจากพื้นที่
carefree – having no worries or responsibilities ที่ไร้กังวล, ที่ไม่มีความกังวลใจ
underpass – a road or path that goes under something such as a busy road, allowing vehicles or people to go from one side to the other ทางใต้ดิน
intersection – a place where roads, lines, etc., join or cross each other สี่แยก
zone – an area that has an important or typical feature; an area where a particular activity is allowed or not allowed พื้นที่, บริเวณ, เขต
embankment – a slope made of earth or stone that rises up from either side of a road, railway/railroad, river, etc. มูลดิน,ตลิ่งทาง
collapse – to fall down suddenly พังลงมา ล้ม, พังครืน
parallel – when the distance between two lines, etc. is the same all along their length ขนาน
barrier – a wall, pile of sandbags, etc., that prevents water from entering สิ่งกีดขวาง
downstream – in the direction that a river or stream is flowing ตามกระแสน้ำ
shield – to protect something ซ่อนจาก, ป้องกัน
withstand – to be strong enough not to be hurt or damaged by extreme force, extreme conditions, etc. ทนทาน
massive – very large ใหญ่มหาศาล
volume – an amount of something ปริมาณ
breach – to break through or over something ข้าม, ทำให้แตก
severe – very serious and worrying ที่รุนแรง ที่น่าเป็นห่วง
anticipated – expected คาดว่าจะเกิดขึ้น
meanwhile – at the same time ในเวลาเดียวกัน
take refuge – to go to a place which provides protection or shelter from danger or trouble ลี้ภัย
shelter – a temporary place to stay ที่พักชั่วคราว
adjacent - very near, next to, or touching ติดกัน

วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554

10 ข้อควรรู้สร้างคันดินกันน้ำให้ถูกต้อง

หตุการณ์น้ำท่วมในคราวนี้ คิดว่าหลายท่านคงต้องได้ยินเรื่องพนังกั้นน้ำพังในหลายๆจุด จนทำให้น้ำไหลทะลักเข้ามาและทำให้เกิดน้ำท่วมในนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่ง เกิดความเสียหายสุดคณานับ หลายคนคงอยากรู้ว่าคันดินหรือพนังกั้นน้ำนี้คืออะไร และ มีมาตรฐานการออกแบบและก่อสร้างอย่างไรจึงจะถูกต้องตามหลักทางวิศวกรรม บทความในตอนนี้ผมจะนำเรื่องนี้มาอธิบายให้ท่านได้รับทราบกันนะครับเผื่อจะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการป้องกันทรัพย์สินของท่านจากน้ำท่วมในคราวนี้

ในสถานการณ์น้ำท่วมปัจจุบันยังมีความจำเป็นที่ต้องก่อสร้างกำแพงกันน้ำในหลายๆตำแหน่ง แต่วัสดุที่นำมาใช้ในการก่อสร้าง เช่น อิฐ คอนกรีต ทราย ต่างๆ ดูจะหาซื้อไม่ได้เสียแล้ว ผมมองว่ายังไงก็ต้องใช้ดินเป็นวัสดุก่อสร้างคันดินนี่ล่ะครับที่ยังพอจะหาได้ในสถานการณ์นี้ ดังนั้นการก่อสร้างคันดินให้ถูกต้องตามมาตรฐานทางวิศวกรรม เพื่อให้ได้คันดินที่มีความแข็งแรงจึงเป็นเรื่องที่ท่านควรจะทราบไว้กันนะครับ

คันดินหรือพนังกั้นน้ำเป็นโครงสร้างทางวิศวกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งก่อสร้างด้วยการบดอัดดินจนแน่นเป็นรูปคันดิน การก่อสร้างคันดินจะต้องทำให้ได้ตามมาตรฐานเพื่อจะให้ได้คันดินที่มีความแข็งแรง ในบทความนี้ผมจะแนะนำหลัก 10 ประการในการก่อสร้างคันดินตามมาตรฐานของ FEMA259 ซึ่งเป็นข้อแนะนำสำหรับการก่อสร้างคันดินที่มีความสูงไม่เกิน 2 เมตร เพื่อกันน้ำที่สูงไม่เกิน 1.70 เมตร (เผื่อไว้ 30 ซม. สำหรับกันน้ำกระฉอก)

สำหรับคันดินที่มีความสูงกว่านี้ ก็ยังคงต้องทำตามหลัก 10 ประการที่ผมจะกล่าวต่อไปนี้อยู่ แต่จำเป็นจะต้องมีการวิเคราะห์ทางวิศวกรรมอย่างละเอียดโดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญและมีรายการคำนวณประกอบด้วย ซึ่งผมจะไม่นำมาพูดในบทความนี้

หลัก 10 ประการในการก่อสร้างคันดินให้ได้มาตรฐานทางวิศวกรรมมีดังนี้ครับ

1.วัสดุที่ใช้ทำคันดินจะเป็นดินเหนียวหรือดินทรายก็ได้ แต่ใช้ดินเหนียวจะดีกว่าเนื่องจากดินเหนียวมีขนาดอนุภาคที่เล็กทำให้น้ำซึมผ่านได้ยาก ถ้าใช้ดินทรายต้องมีตะกอนดินเหนียวปนด้วยเป็นปริมาณไม่น้อยกว่า 15% โดยน้ำหนัก

2.การก่อสร้างคันดินจะต้องทำให้เป็นรูปปิรามิดฐานกว้างและสอบลงเมื่อความสูงเพิ่มขึ้น การก่อสร้างคันดินจะก่อดินขึ้นไปเป็นกำแพงในแนวดิ่ง คงทำไม่ได้เพราะจะล้มได้ง่ายเมื่อโดนแรงดันจากน้ำ นอกจากนี้ วัสดุที่นำมาก่อสร้างเช่นดินเหนียวหรือดินทรายก็ไม่อาจจะก่อสร้างขึ้นไปเป็นแท่งตรงๆได้ด้วย เพราะจะเลื่อนสไลด์ลงมา

3.หากใช้ดินเหนียวเป็นวัสดุทำคันดิน ความลาดของคันดินทั้งสองด้าน (ด้านน้ำและด้านแห้ง) เท่ากับ ระยะดิ่ง 1 ส่วน ต่อ ระยะราบ 2.5 ส่วน

4.หากใช้ดินทรายเป็นวัสดุทำคันดิน ความลาดชั้นของดินทรายด้านน้ำเท่ากับระยะดิ่ง 1 ส่วนต่อระยะราบ 3 ส่วน และ ความลาดชันของคันดินด้านแห้งเท่ากับระยะดิ่ง 1 ส่วนต่อระยะราบ 5 ส่วน

5.ความกว้างของส่วนบนของคันดินแปรผันตามความสูงของคัน แต่สำหรับคันดินทั่วไปที่สูงไม่เกิน 4.0 เมตร ความกว้างส่วนบนของคันดินควรกำหนดค่าอยู่ระหว่าง 2.5 เมตรถึง 3.0 เมตร

6.การก่อสร้างคันดินต้องทำเป็นชั้นๆ ชั้นละ 30 ซม. แต่ละชั้นต้องบดอัดให้แน่นโดยรถบดเพื่อเพิ่มกำลังต้านทานแรงเฉือน มิฉะนั้นแล้วกำแพงอาจจะถูกแรงดันน้ำเฉือนจนขาด

7.เนื่องจากตัวคันดินเองก็อาจเป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำที่อยู่ด้านในคันดินออกสู่ภายนอก ดังนั้นจะต้องเตรียมท่อระบายน้ำหรือระบบระบายน้ำเพื่อนำน้ำที่อยู่ด้านในออกสู่ภายนอกด้วย

8.ก่อนสร้างคันดิน ให้ขุดร่องใต้ฐานคันดินที่บริเวณกลางคันดินโดยมีขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 0.6 เมตร ลึกไม่น้อยกว่า 1.0 เมตร ตลอดความยาวคันดินแล้วอุดร่องดังกล่าวด้วยดินเหนียว หรือ คอนกรีต เพื่อกันการรั่วซึมของน้ำใต้ฐานคันดิน

9.ปูผ้าใบหรือผ้าพลาสติกไปตามแนวลาดของคันดินเพื่อป้องกันการซึมผ่านของน้ำอีกชั้นหนึ่ง แล้ววางถุงทรายบนผ้าใบหรือผ้าพลาสติกนี้ทั้งด้านบนและด้านล่างของคัน

10.ที่ตีนคันดินฝั่งแห้งให้เตรียมพื้นที่รับน้ำ หรือ Toe drain ดังรูปเพื่อรองรับน้ำที่ซึมเข้ามาผ่านทางตัวคันดิน บริเวณที่ทำ toe drain นี้ให้เติมด้วยทรายที่ระบายน้ำได้ดีไม่มีดินเหนียวปน และ เตรียมปั๊มน้ำและท่อส่ง เพื่อนำน้ำออกนอกพื้นที่

9 โรคร้าย ที่มากับ น้ำท่วม & หลังน้ำท่วม

1.โรคน้ำกัดเท้าจากเชื้อราและแผลพุพองเป็นหนอง
ซึ่งเกิดจากการย่ำน้ำหรือแช่น้ำที่มีเชื้อโรคหรืออับชื้นจากเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายที่ไม่สะอาดเป็นเวลานาน โดยจะมีอาการเท้าเปื่อย เป็นหนอง และเริ่มคันตามซอกนิ้วเท้า ผิวหนังลอกเป็นขุย จากนั้นผิวหนังจะพุพอง นิ้วเท้าหนาและแตก มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนคือผิวหนังอักเสบ
ป้องกันได้ด้วยการเช็ดเท้าให้แห้ง หากมีบาดแผลควรใช้แอลกอฮอล์เช็ดแล้วทาด้วยยาฆ่าเชื้อ

2. โรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ที่เกิดจากเชื้อไวรัส
ติดต่อได้ทุกเพศทุกวัย แพร่กระจายในลมหายใจ เสมหะ น้ำลาย อาการมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย ไอจาม อ่อนเพลีย
ป้องกันได้ด้วยใช้ผ้าปิดปากเวลาไอจาม ดื่มน้ำอุ่นมากๆ มีไข้สูงเกิน 7 วันควรพบแพทย์

3.โรคปอดบวมเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในปอด
เช่น น้ำสกปรกจนทำให้เกิดการอักเสบ อาการไข้สูง ไอมาก หอบหายใจเร็ว เห็นชายโครงบุ๋ม ริมผีปากซีดหรือเขียวคล้ำ กระสับกระส่ายหรือซึม
หากมีอาการควรรีบพบแพทย์ทันที

4.โรคตาแดง
ติดต่อได้ง่ายในเด็กเล็กแต่เป็นโรคที่ไม่มีอันตรายรุนแรง ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส แต่หากไม่ได้รับการรักษาอาจมีเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ อาการหลังได้รับเชื้อประมาณ 1 – 2 วัน จะมีอาการระคายเคือง ปวดตา น้ำตาไหล กลัวแสง มีขี้ตามาก หนังตาบวม เยื่อบุตาขาวอักเสบแดง ทั้งนี้ในหากดูแลถูกวิธีจะหายได้ใน 1 – 2 สัปดาห์ แต่ถ้าไม่ดูแลอาจเกิดอาการแทรกซ้อน เช่น กระจกตาดำอักเสบ
ทั้งนี้ป้องกันได้ด้วยล้างดวงตาให้สะอาดเมื่อถูกฝุ่นละออง หมั่นล้างมือบ่อยๆ ไม่ควรขยี้ตา

5.โรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร
ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายจากการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น อาหารปรุงสุกๆ ดิบๆ อาหารที่มีแมลงวันตอม อาหารค้างคืนหรือเน่าบูด แบ่งออกเป็นหลายโรค ได้แก่ โรคอุจาระร่วง อาการถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำ อาจมีมูกเลือดและมีการอาเจียนร่วมด้วย อหิวาตกโรค จะถ่ายเป็นน้ำคล้ายน้ำซาวข้าวทีละมากๆ อาการรุนแรง

อาหารเป็นพิษ มักมีอาการปวดท้องร่วมกับการถ่ายอุจาระเหลว คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการปวดศีรษะและเมื่อยเนื้อตัวร่วมด้วย โรคบิด จะถ่ายอุจจาระมีมูกหรือเลือดปน มีไข้ ปวดท้องและมีปวดเบ่งร่วมด้วย โรคไข้ทัยฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย มีอาการสำคัญคือมีไข้ เบื่ออาหาร ท้องผูก เมื่อยเนื้อตัว ปวดศีรษะ

ป้องกันได้โดยล้างมือให้สะอาด เลือกรับประทานอาหาร กำจัดสิ่งปฏิกูล ขยะมูลฝอย เพื่อไม่ให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวัน แต่หากป่วยจำเป็นต้องดื่มน้ำหรืออาหารเหลวมากๆ รวมทั้งดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ (โอ อาร์ เอส) ด้วย

6.โรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซิส
เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน มีหนูเป็นตัวแพร่โรคที่สำคัญ เชื้อออกมากับปัสสาวะสัตว์แล้วปนเปื้อนในน้ำท่วมขัง โดยโรคนี้จะติดต่อทางบาดแผล รอยขีดข่วน หรือไชเข้าตามเยื่อบุตา จมูก ปาก หรือผิวหนังที่แช่น้ำนานๆ อาการหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 4 – 10 วัน จะมีไข้สูงทันที ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง และศีรษะมาก บางรายมีอาการตาแดง เจ็บคอ เบื่ออาหาร ท้องเดินร่วมด้วย จำเป็นต้องรีบพบแพทย์ มิเช่นนั้นอาจถึงขั้นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเสียชีวิตได้
อย่างไรก็ตามสามารถป้องกันได้โดยสมรองเท้าบู๊ทยางกันน้ำ ทำความสะอาดที่พักไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของหนู

7.โรคไข้เลือดออก
มียุงลายเป็นพาหะพบได้ทุกวัยในทุกพื้นที่ มีอาการไข้สูงตลอดทั้งวัน หน้าแดง เกิดจุดแดงๆ เล็กๆ ตามลำตัว ต่อมาไข้จะลดลง ซึ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะอาจเกิดอาการรุนแรง มีความผิดปกติ เช่น ถ่ายดำ ไอปนเลือด เกิดภาวะช็อคและเสียชีวิตได้
ทั้งนี้การรักษาห้ามใช้ยาแอสไพริน และระวังไม่ให้ถูกยุงกัด

8.โรคหัด
เป็นโรคไข้ออกผื่นที่พบในเด็ก เกิดจากเชื้อไวรัส มักพบในฤดูฝน หากมีการแทรกซ้อนอาจเสียชีวิตได้ สำหรับการติดต่อผ่านทางการไอจาม เชื้อกระจายอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย อาการหลังจากได้รับเชื้อ 8 – 12 วัน มีไข้ ตาแดง พบจุดขาวๆ เล็กๆ ในกระพุ้งแก้ม
ป้องกันได้โดยฉีดวัคซีน หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วย

9.โรคไข้มาลาเรีย
ติดต่อโดยยุงก้นปล่องเป็นพาหะนำเชื้อโรค มักพบในพื้นที่ป่าเขามีแหล่งน้ำจืดธรรมชาติ อาการหลังรับเชื้อ 7 – 10 วัน จะปวดศีรษะ โดยทั่วไปคล้ายไข้หวัด แต่หลังจากนั้นจะหนาวสั่นและไข้สูงตลอดเวลา อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต

No escape for Bangkok


Flooding throughout Bangkok might not be as bad as it as at Thammasat's University Rangsit Campus, but it seems certain to be a major headache for at least the next month.


A road opposite Pata shopping mall in Bang Phlat district floods after the Chao Phraya River surged in the evening. The road isimpassable to small vehicles. PAWAT LAOPAISARNTAKSIN

Fearful city folk brace for soaking

Efforts to drive water to east, west of capital fail

Bangkok residents are living in fear as the authorities have been unsuccessful in trying to divert northern run-off to the east and west of the capital.

About 4,000 million cubic metres of flood water from Ayutthaya is expected to reach Bangkok tomorrow, Deputy Bangkok Governor Pornthep Techapaiboon said yesterday.


"The problem is City Hall can drain no more than 400 million cu m of water a day," Mr Pornthep said.

The huge water mass will enter the west of Bangkok via Nakhon Pathom, Nonthaburi and sweep into Khlong Thawi Watthana, Khlong Bangkok Noi and Khlong Bang Phlad and is expected to reach up to three metres high.

However, Mr Pornthep said there is a 2.7-metre-high railway track in Thawi Watthana district which serves as a floodbarrier in the west of Bangkok.

The water level in the Chao Phraya River reached a record high yesterday, rising to 2.3 metres above sea level against 2.27 metres back in 1995.

The river breached its banks and inundated riverside communities in Bang Phlad, Samsen and Charan Sanitwong.

Bangkok Governor Sukhumbhand Paribatra warned residents living outside the city's embankments to be extra careful orevacuate to shelter centres.

Prime Minister Yingluck Shinawatra yesterday said that Bangkok has seen floodwaters converge on it from various directions.

A bird’s eye view of the submerged Thammasat University Rangsit Campus from a Royal Thai Air Force helicopter. The university is seeking to relocate some 4,000 flood victims after water broke through barricades. SURAPOL PROMSAKA NA SAKOLNAKORN


She said runoff from the north has reached the north of Bangkok because the Royal Irrigation Department (RID) could not close the Khlong 1 sluice gate in Rangsit as the water flow was too strong and high. The raging torrents couldburst through the water gate.

"The government has no intention of concealing information. We provide the public with regular updates. But too many new factors keep cropping up," Ms Yingluck said.

She added that areas from the Chulalongkorn sluice gate down to Sai Mai district are at risk of floods despite efforts to divert waterflow to the east of Bangkok.

She said there was concern for low-lying areas in the south of Bangkok and in Thon Buri.

Ms Yingluck said that in the west of Bangkok, three more drainage canals in Nakhon Pathom have been dug and dredgedto help divert run-off to the Tha Chin River and on to the sea.

But a problem had arisen as no water had flowed into the canals so far, probably because areas around the canals are flat and even. But it is hoped that the massive flow of runoff will soon surge forward into the canals, she said.

opposite – across from or facing someone or something ที่อยู่ตรงกันข้าม
surge – to increase very quickly เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
impassable – of a road or path that cannot be travelled on because it is blocked or because of bad weather conditions ซึ่งผ่านไปไม่ได้
brace – to get ready for something unpleasant เตรียม
soak – to make something very wet เปียกโชก
capital – the most important town or city of a country, usually where the central government operates from เมืองหลวง
residents – people who live in a particular area ประชาชนที่อาศัยในท้องที่
authorities – people who have the power to make decisions or enforce the law เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ
divert – to cause something to change direction เบนเส้นทางเดินน้ำ
run-off – rain, water or other liquid that runs off land into streams and rivers น้ำหลาก
deputy – a person whose rank is immediately below that of the leader of an organisation รอง
City Hall – a city government, in this case, the Bangkok city government กรุงเทพมหานคร
drain – to cause water or fluid to flow out ระบายออก
mass – a large amount or number ปริมาณมาก จำนวนมาก
sweep – to move or spread quickly through an area; to move something or someone with powerful force เคลื่อนไปอย่างรวดเร็ว, พัดพาเอาไป
barrier – a wall, pile of sandbags, etc., that prevents water from entering สิ่งกีดขวาง
level – the amount of liquid that there is in a container, river, dam, etc., which can be seen by how high the liquid is ระดับ
record – the highest, best or most ever experienced สถิติ
sea level – the height of the land at the edge of the sea the average height of the sea/ocean, used as the basis for measuring the height of all places on land ระดับน้ำทะเล
breach – to break through or over something ข้าม, ทำให้แตก
bank – a raised area of land along the side of a river ริมฝั่งแม่น้ำ
inundated – flooded ถูกน้ำท่วม, จมลงใต้น้ำ
community – the people living in one particular area ชุมชน
embankment – a slope made of earth or stone that rises up from either side of a road, railway/railroad, river, etc. มูลดิน,ตลิ่งทาง
evacuate – to leave a place because it is not safe อพยพออกจากพื้นที่
shelter – a place where people are protected from danger or bad weather; a temporary place to stay ที่หลบภัย ที่พักชั่วคราว
converge – to come from different directions to reach the same point ไปยังจุดหมายเดียวกัน
submerge – to cause to be under water ทำให้จมน้ำ ทำให้อยู่ใต้น้ำ
relocate – to move someone or something to another place โยกย้ายประชาชนออกจากบริเวณ
victim – someone who has been affected by a bad situation, such as an illness or an accident เหยื่อผู้เคราะห์ร้าย
barricade – a temporary structure built to prevent someone/something from getting past แผงหรือแนวรั้วกั้น
(Royal) Irrigation Department – The Thai government department in charge of the country's irrigation system กรมชลประทาน
sluice gate – a gate that can be opened or closed to control the flow water along a passage ประตูน้ำปิดเปิดบังคับการไหลของน้ำในคลอง
raging – happening with a lot of force or violence รุนแรงมาก
torrent – a large amount of water flowing rapidly and violently กระแสน้ำเชี่ยว,การไหลพุ่
burst – to break open suddenly because there is too much pressure inside or against โพล่ง, แตก, ระเบิด
intention – a plan in your mind to do something ความตั้งใจ เจตนา แผนการ
conceal – to hide something ซุก ซ่อน
update – the most recent information or news about something ข้อมูลใหม่ๆ
factor – a fact or situation which influences the result of something ปัจจัย
crop up – to appear or happen, especially when it is not expected เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหมายไว้
at risk – in danger ตกอยู่ในความเสี่ยง
concern – a worry ความกังวล
dredge – to remove unwanted things from the bottom of a river, canal, lake, etc. using a sucking or other device ขุดลอก
arise – to happen as a result of a particular situation เกิดขึ้น
even – smooth, level and flat เรียบ,ราบ
massive – very large ใหญ่มหาศาล