วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การปฏิวัติฝรั่งเศส

การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.. 1789 (Fench Revolution 1789)

การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.. 1789 มีผลต่อยุโรปโดยรวมเพราะฝรั่งเศสเป็นประเทศมหาอำนาจของยุโรปในขณะนั้น

สาเหตุของการปฏิวัติ

1. สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การที่ฝรั่งเศสพัวพันกับการทำสงครมหลายครั้งตั้งแต่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มาจนกระทั่งถึงสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ฝรั่งเศสกู้เงินเป็นจำนวนมากมาช่วยชาวอาณานิคมอเมริกันทำสงครามต่อต้านอังกฤษ

2. สถานการณ์ทางสังคมและการเมือง เสนาบดีคลังเสนอให้เก็บภาษีที่ดินจากพลเมืองทุกคน แต่ถูกฐานันดรที่ 1 และฐานันดรที่ 2 ต่อต้าน เรียกประชุมสภาฐานันดรแห่งชาติ สภาฐานันดรแห่งชาติในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.. 1789 ณ พระราชวังแวร์ซายส์ ฐานันดรที่ 3 จึงเรียกร้องให้เพิ่มจำนวนผู้แทนของตนขึ้นอีกเท่าตัวเพื่อจะได้มีจำนวนเท่ากับผู้แทนฐานันดรที่ 1 และ 2 รวมกัน สภาฐานันดรแห่งชาติเปิดประชุมในวันที่ 5 พฤษภาคม ค.. 1789 แต่ละฐานันดรถูกจัดให้แยกกันประชุม ฐานันดรที่ 3 เรียกร้องให้เปิดประชุมร่วมกัน ประกาศตนเป็นสมัชชาแห่งชาติ ในวันที่ 20 มิ.ย. สมัชชาแห่งชาติได้จัดประชุมขึ้นบริเวณสนามเทนนิสของพระราชวังแวร์ซายส์

3. ความแพร่หลายของความคิดใหม่ในศตวรรษที่ 18 แนวความคิดของวอลแตร์ มองเตสกิเออร์ และสงครามกู้อิสรภาพอเมริกันกระตุ้นให้ตื่นตัวในเรื่องเสรีภาพ มาควิส เดอ ลา ฟาแยตต์นำความนิยมในระบอบประชาธิปไตยมาเผยแพร่

สิงหาคม ค.. 1789 มีการประกาศสิทธิแห่งมนุษย์ชนและพลเมือง ซึ่งประกอบด้วยหลักการสำคัญ 3 ข้อที่เป็นอุดการณ์ของการปฏิวัติฝรั่งเศส คือ เสรีภาพ (liberty) เสมอภาค (equality) และภราดรภาพ (fraternity) ประกาศดังกล่าวย้ำข้อเรียกร้องฐานันดรที่ 3 เช่น มนุษย์เกิดมาเป็นอิสระ และมีสิทธิเท่าเทียมกัน การจับกุมกล่าวหาและหน่วงเหนียวบุคคลใดๆจะกระทำได้เฉพาะตามที่กฎหมายกำหนด และทุกคนต้องเสียภาษีตามสัดส่วนของรายได้ที่ได้รับ ประกาศดังกล่าว

ข่าวลือเรื่องกษัตริย์จะใช้กำลังทหารสลายการประชุมสมัชชาแห่งชาติก็ทำให้เกิดความโกลาหล เฉพาะในหมู่ชาวปารีสหัวรุนแรง ที่เรียกว่าพวกซองกูลอต (sans-culottes)

ในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.. 1789 จึงยกขบวนประมาณ 800 คนไปที่คุกบาสตีย์ (Bastille) ซึ่งใช้

เป็นที่ขังนักโทษการเมือง เหตุการณ์การทลายคุกบาสตีย์ (Fall of the Bastille) นี้ซึ่งต่อมาถือเป็นวันเริ่มต้นเหตุการณ์ปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นวันชาติฝรั่งเศสในปัจจุบัน

เพื่อรักษาความสงบทั้งในเมืองและชนบทระหว่างที่ 5-11 สิงหาคม 1789 สภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติออกพระราชกฤษฎีกาหลายฉบับรวมเรียกว่าพระราชกฤษฎีกาเดือนสิงหาคม” (August Decrees) ระบุถึงการยกเลิกระบบฟิวดัล ศาลต่างๆ มีการปรับปรุงกฎหมายอาญาโดยใช้หลักมนุษยธรรมมากขึ้นด้วยการยกเลิกการทรมานและตัดอวัยวะ นับตั้งแต่เดือนมีนาคม .. 1792 รัฐเริ่มนำเครื่องกิโยติน(guillotine)มาใช้เป็นเครื่องประหารเพื่อให้สิ้นชีวิตโดยเร็วและเจ็บปวดน้อยที่สุด สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติต้องการให้คริสตจักรฝรั่งเศสพ้นจากการควบคุมดูและของสำนักสันตะปาปาที่ปรุงโรม และประกาศใช้ พระราชบัญญัติธรรมนูญสงฆ์ในค.. 1790 บังคับให้พระปฏิญาณว่าจะรับรองรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของประเทศ

พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงเป็นบุคคลที่ยึดมั่นในศาสนา จึงไม่สบายพระทัยที่ต้องยอมรับพระราชบัญญัติธรรมนูญสงฆ์ ทรงวางแผนเสด็จหนีในวันที่ 20 มิถุนายน ค.. 1791 เมื่อถึงเมืองวาแรน (Varennes) ก็ทรงถูกจับและนำเสด็จกลับกรุงปารีส

ฝรั่งเศสประกาศสงครามต่อออสเตรียซึ่งมีจักรพรรดิเป็นพระเชษฐาของสมเด็จพระราชินีมารี อองตัวแนต ในวันที่ 20 เมษายน ค.. 1792 ในเดือนต่อมาปรัสเซียจึงประกาศสงครามต่อฝรั่งเศส นับเป็นการเริ่มต้น สงครามการปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolutionary Wars, .. 1792 – 1799)

ในวันที่ 1 สิงหาคม .. 1792 ออสเตรีย-ปรัสเซียได้ออกแถลงการณ์บรันสวิก (Brunswick Manifesto) เพื่อขู่ฝรั่งเศสว่าถ้ากษัตริย์ฝรั่งเศสตกอยู่ในภาวะอันตราย พันธมิตรจะโจมตีกรุงปารีสทันที

ฝูงชนจำนวนหนึ่งและกองกำลังป้องกันชาติแห่งกรุงปารีสได้พากันไปที่พระราชวังตุยเลอรี ทหารรับจ้างชาวสวิสประมาณ 1,000 คน พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ต้องเสด็จไปหลบภัยในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทหารสวิสต่อสู้กับฝูงชนที่บุกรุกเข้าไป แต่เมื่อมีการยิงตอบโต้กัน เป็นเหตุการณ์จลาจลที่นองเลือดที่สุดของการปฏิวัติครั้งนี้ ฝูงชนเดินขบวนบุกเข้าไปในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงหลบภัย พระราชวงศ์จึงถูกนำไปกักบริเวณที่เรือนจำเทมเปิล (Temple)

สภากงวองซิงยง (Convention) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เปิดประชุมครั้งแรกวันที่ 20 กันยายน ค.. 1792 และในวันรุ่งขึ้นก็ประกาศล้มเลิกระบอบกษัตริย์ฝรั่งเศสจึงเข้าสู่สมัย สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 (First Republic of France) ชายฝรั่งเศสทุกคนที่อายุ 21 ปีขึ้นไปมีสิทธิออกเสียง ในเดือนธันวาคม ค.. 1792 มีการพิจารณาไต่สวนความผิดของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 พวกซองกูลอตถือว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ต้องรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตจำนวนมากของชาวฝรั่งเศสที่พระราชวังตุยเลอรี พระเจ้าหลุยส์สที่ 16 และพระนางแมรี อังตวนเนตจึงถูกประหารด้วยกิโยตีนเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 1793

สมัยแห่งความหวาดกลัว

สภากงวองซิยงอ้างว่าสภาวะบ้านเมืองกำลังมีศึกทั้งภายนอกและภายใน จำต้องมีรัฐบาลปฎิวัติบริหารบ้านเมืองอย่างเฉียบขาด ซึ่งทำให้สังคมฝรั่งเศสปั่นป่วนและหวาดระแววกันเองจนกลายเป็นช่วงเวลาของการมีชีวิตใน สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว (Reign of Terror) ระหว่างมี.ค 1793 ถึงก.ค. 1794

ช่วงเวลาแห่งความน่าสะพรึงกลัวสูงสุด (Great Terror) ของสมัยปฏิวัติฝรั่งเศสเกิดขึ้นเมื่อมีการออกกฎหมายเดือนมิ.ย. 1794 ระบุว่าศัตรูของประชาชนจะต้องถูกนำตัวขึ้นศาลปฏิวัติแห่งกรุงปารีส และถูกพิพากษาตามความพอใจของคณะลูกขุนมากกว่าหลักฐานอื่นใด จำเลยจะไม่ได้รับสิทธิของคำปรึกษา แก้คดีและคำตัดสินก็มีเพียงให้ปล่อยตัวหรือให้ประหารเท่านั้น ภายใน 9 สัปดาห์ที่ใช้กฎหมายนี้จำนวนพลเมืองที่ถูกศาลปฏวัติตัดสินประหารมีจำนวนมาก ต่อมาเมื่อ แมกซิมิเลียง โรแบสปีแยร์ (Maximillen Robespierre) ผู้นำการปฏิวัติคนสำคัญถูกสภาประกาศให้เป็นบุคคลนอกกฎหมาย จึงถูกประหารด้วยเครื่องกิโยตินในวันที่ 28 ก.ค. 1794 ก็นับเป็นการสิ้นสุดสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว

การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.. 1789 ได้ปลุกกระแสการสร้างสำนึกทางสังคมและการเมืองให้แก่

ชาวยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 19 การปฏิวัติฝรั่งเศสมีอิทธิพลอย่างมากต่อการปฏิวัติในหลายประเทศ

การปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ.1917

คำสำคัญ

1. ซาร์นิโคลัสที่ 2 รัสปูติน 3. วลาดิมีร์ เลนิน

คำถามชวนคิด

สถานะการณ์ทางการเมืองในรัสเซียว่ามีแนวโน้มที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงประเทศเป็นคอมมิวนิสต์จริงหรือไม่

แนวคิด การปฏิวัติที่เกิดขึ้นครั้งนี้ได้ทำให้แนวความคิดลัทธิมากซ์ (Marxism) และหลักนโยบายพื้นฐานทั่วไปของลัทธิคอมมิวนิสต์ที่คาร์ลมากซ์ ฟรีดริช เองเกลส์ มาใช้ในการปกครองประเทศต่อมา

สาเหตุสำคัญของการปฏิวัติรัสเซีย

1. ความพ่ายแพ้ในสงคราม เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ใน ค.. 1914 รัสเซียประกาศสงครามกับเยอรมัน โดยเป็นพันธมิตรกับอังกฤษและฝรั่งเศส รัสเซียจึงมักเป็นฝ่ายที่ได้รับความเสียหายในการรบอย่างมาก

2. ความวุ่นวายภายในประเทศ สงครามทำให้รัสเซียขาดแคลนอาหารเพราะชาวนา ซึ่งเป็นพลเมืองส่วนใหญ่ถูกเกณฑ์เป็นทหาร พื้นที่เพาะปลูกถูกทิ้งให้รกร้าง สภาวะเงินเฟ้อและค่าครองชีพที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อัตราการว่างงานที่มีมากขึ้นประชาชนเดือดร้อน มีการชุมนุมเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล

3. ความล้มเหลวของการบริหารประเทศ ซาร์นิโคลัสที่ 2 (Nicholas II) ทรงตัดสินพระทัยเสด็จไปบัญชาการรบด้วยพระองค์เองในสงครามโลกครั้งที่ 1 สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่กองทัพ จึงโปรดให้ซารีนา อะเล็กซานตราพระมเหสีบริหารราชการแผ่นดินแทน แต่พระนางทรงเชื่อคำกราบทูลของนักบวชเกรกอรี รัสปูติน ในการบริหารประเทศ แต่งตั้งบุคคลที่ใกล้ชิดเขาแต่ไร้ความสามารถให้ดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะรัฐบาล งานราชการแผ่นดินจึงได้รับความเสียหาย

4. การขาดแคลนอาหารและเชื่อเพลิง ชุมนุมเดินขบวน และการก่อจลาจลในกรุงเปโตรกราดมีการปราบปรามการชุมนุมอย่างเด็ดขาด กองทหารคอสแซค ซึ่งเป็นกองทหารที่จงรักภักดีที่สุดต่อพระเจ้าซาร์ปฏิเสธที่จะปฏิบัตตามคำสั่งของ พระองค์ทหารส่วนใหญ่วางอาวุธและเข้าร่วมสนับสนุนของประเทศชาติ พระองค์จึงยอมสละราชบัลลังก์ตามคำกราบทูล สภาดูมาได้ประกาศการสิ้นสุดอำนาจของรัฐบาลซาร์ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ค.. 1917 และทรงมอบราชบัลลังก์ให้แก่พระอนุชาแกรนด์ดุ๊ก ไมเคิล อะเล็กซานโดรวิช แต่แกรนด์ดุ๊ก ไมเคิล ทรงปฏิเสธ จึงทำให้ราชวงศ์โรมานอฟที่ปกครองจักรวรรดิรัสเซียกว่า 300 ปี ถึงกาลอวสานลง

การปฏิวัติเดือนตุลาคม ค.ศ.1917

1. สาเหตุของการปฏิวัติ

1.1 ความล้มเหลวของรัฐบาลเฉพาะกาลในการบริหารประเทศ หลังการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ ค.. 1917 รัฐบาลเฉพาะกาลที่ปกครองประเทศยังคงดำเนินนโยบายสนับสนุนการทำสงครามต่อไป แต่การที่รัสเซียยังพ่ายแพ้ในการรบอย่างต่อเนื่องก็มีผลทำให้ความไม่พอใจของประชาชนในการทำสงครามมีมากขึ้น พรรคบอลเชวิค และพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายในสภาโซเวียตจึงเห็นเป็นโอกาสปลุกระดมประชาชนให้ต่อต้านสงคราม

1.2 เหตุการณ์เรื่องคอร์นีลอฟ ในเดือนกันยายน ค.. 1917 นายพลลาฟร์คอร์นีลอฟ (Lavr Kornilov) ก่อกบฎขึ้นเพื่อโค่นล้มอำนาจของรัฐบาลเฉพาะกาล การเคลื่อนกำลังดังกล่าวจึงเป็นเหตุการร์ที่รู้จักกันว่า เหตุการร์เรื่องคอร์นีลอฟ

1.3 นโยบายการดำเนินสงคราม การที่รัสเซียเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในการรบ มีผลให้ประชาชนเกิดความเบื่อหน่ายสงครามอย่างรุ่นแรงมากขึ้น ขณะเดียวกันหนี้สินสงครามทำให้ประเทศอยู่ในสภาพล้มละลายทางการเงิน รัฐบาลรัสเซียจึงพยายามแก้ปัญาหาด้วยการพิมพ์ธนบัตรจำนวนมหาศาสลออกมาใช้หนี้และเพื่อใช้หมุนเวียนซึ่งนำไปสู่การเกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุ่นแรง ราคาอาหารและสินค้าที่จำเป็นถีบตัวสูงขึ้นเรื่อย ๆ ประมาณ 10 – 12 เท่า

1.4 การกลับเขาประเทศของผู้นำการปฏิวัติ เริ่มเดินทางกลับเข้าประเทศ เช่น เลออน ตรอตสกี (Leon Trotsky) และวลาดิมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin) ผู้นำการปฏิวัติได้ชูคำขวัญ สันติภาพ ที่ดิน และขนมปังโดยจะถอนตัวออกจากสงคราม

1.5 การจัดตั้งคณะกรรมาธิการปฏิวัติฝ่ายทหาร ในต้นเดือนตุลาคม ค.. 1917 เลนินนผู้นำพรรคบอลเชวิคตัดสินใจที่จะยึดอำนาจด้วยกำลังอาวุธ

2. ความสำคัญของการปฏิวัติ ชัยชนะของการปฏิวัติเดือนตุลาคม ค.. 1917 ทำให้รัสเซียกลายเป็นแม่แบบของการปฏิวัติสังคมนิยมที่เป็นแรงบันดาลใจแกนักปฏิวัติและประชาชาติต่าง ๆ

Mandarin Duck



Mandarin Duck


เป็ดแมนดาริน (Mandarin) นกน้ำอีกประเภทหนึ่งที่ได้ชื่อว่าเป็นนกน้ำที่สวยงามที่สุดในโลก พบมากในทวีปเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น อินเดีย พม่า ไทย และไต้หวัน

เป็ดแมนดาริน เป็นนกที่จัดอยู่ในประเภทขนาดกลาง มีความยาวลำตัวประมาณ 48 เซนติเมตร ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะมีสีฉูดฉาดหลายสี ซึ่งแต่ละสีตัดกันเห็นเด่นชัดสวยงามมาก หน้าผากและหัวเป็นสีทองแดง สีม่วง และเขียว เหลือบเป็นมันเงา และ มีขนปีกสีส้มขนาดใหญ่ดูคล้ายเป็นแผงข้างละเส้นงามสะดุดตา และจะสวยงามในฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น

พอสิ้นฤดูหนาวเมื่อพ้นฤดูผสมพันธุ์แล้ว เป็ดแมนดาริน ตัวผู้จะผลัดขนจนดูคล้ายตัวเมีย ซึ่งจะมีลายขีดสีขาวบริเวณท้องและลายขีดสีดำที่โคนปาก เป็ดแมนดาริน วางไข่ครั้งละ 9 - 12 ฟอง ไข่สีเนื้อเป็นมัน ระยะเวลาฟักไข่นาน 28-30 วัน

ลักษณะนิสัยของ เป็ดแมนดาริน จะมีคู่เพียงตัวเดียวและรักเดียวใจเดียวตลอดชีวิต ทั่วโลกยอมรับให้ เป็ดแมนดาริน เป็นสัญลักษณ์แห่งความรักและการครองคู่ ตามตำราจีนจึงนิยมวางรูปปั้นหรือติดภาพวาดเป็ดแมนดารินไว้ในบ้าน เพื่อเป็นแรงกระตุ้นแห่งรักมิให้เสื่อมคลาย..จึงเป็นเคล็ดลับที่จะช่วยส่งเสริมความรักของคู่สามีภรรยา และให้ครองชีวิตคู่กันตลอดไป

ทั้งนี้ เป็ดแมนดาริน เป็นนกอพยพมาประเทศไทยช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ หายากและมีปริมาณน้อยมาก เคยมีรายงานพบในประเทศไทยเพียง 2-3 ครั้งเท่านั้น ที่บึงบอระพ็ด นครสวรรค์, ห้วยตึงเฒ่า เชียงใหม่, และหนองบงคาย เชียงราย ตามกฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุ.ศ. 2535 เป็ดแมนดาริน เคยมีมากที่จีน แต่โดนคนจับส่งขายส่งออกจนคาดว่าเหลือไม่ถึง 1,000 คู่ พบมากสุดที่ญี่ปุ่น ราว 4,000-5,000 คู่

โดยปกติแล้ว เป็ดแมนดาริน ชอบอยู่ตามหนองบึง และลำห้วยที่มีต้นไม้ขึ้นปกคลุม เพื่ออาศัยเป็นที่หลบซ่อนตัว และจะชอบเกาะอยู่ตามกิ่งไม้ เป็ดแมนดาริน อยู่อาศัยเป็นฝูงเล็ก ๆ ตามแหล่งน้ำ เป็ดแมนดาริน สามารถบิน เดิน และว่ายน้ำได้ดี พวกมันกินแหน ลูกกุ้ง ปู ปลา กบ เขียด แมลง