วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

กาแฟเวียดนาม


การชงกาแฟของเวียดนามถือเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ใช้อุปกรณ์ง่าย ๆ ไม่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้า แค่ใช้กาแฟสดที่คั่วมาแบบหยาบปานกลางใส่ไปลงแล้วเติมน้ำร้อน รอให้น้ำไหลผ่านแผ่นกรอง filter ที่ละหยด ๆ เราก็จะได้กาแฟสดหอมกรุ่น


วิธีการชงกาแฟเวียดนามกันดีกว่า จะพบว่ามันง่ายมาก เหมือนชงกาแฟพร้อมชง

Instant Coffee




อุปกรณ์สำหรับชงกาแฟเวียดนาม มีแค่ 3 อย่าง




ขั้นตอนที่ 1:ใส่นมข้นหวานลงในแก้ว หรือจะใช้น้ำตาลก็ได้



ขั้นตอนที่ 2 :เปิดฝาชุดถ้วยกาแฟ แล้วดึงแผ่นกรองอะลูมิเนียมออกมา




ขั้นตอนที่ 3 :นำกาแฟสดใส่ลงไปในถ้วยชง ความอ่อนหรือเข้มของกาแฟ อยู่ตรงที่ปริมาณกาแฟสดที่เราใส่ลง




ขั้นตอนที่ 4 :ใส่แผ่นกรองอะลูมิเนียม ลงไปในถ้วยชงกาแฟ แล้วกดลงไปเบา ๆ หลังจากนั้นจึงนำขึ้นวางลง บนแก้วกาแฟ



ขั้นตอนที่ 5 :ค่อย ๆ รินน้ำร้อนลงไปถ้าต้องการรสชาติเข้มข้น ก็ใช้ปริมาณน้ำน้อยแค่ครึ่งแก้ว แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับปริมาณเนื้อกาแฟคั่วที่ใส่ลงไปด้วย ส่วนข้างล่างเป็นน้ำขมหวาน ใครไม่ชอบนมข้นหวาน จะเปลี่ยนไปเป็นน้ำตาลก็ได้



ขั้นตอนที่ 6 :ปิดฝาถ้วยชงกาแฟ เพื่อเก็บกลิ่นเอาไว้ จากนั้น น้ำร้อนบนถ้วยจะค่อย ๆ หยดลงไปในแก้วกาแฟข้างล่าง เกือบได้ ชิมแล้ว


ขั้นตอนสุดท้าย :เมื่อน้ำร้อนในถ้วยชงด้านบนหยดลงแก้วด้านข้างจนหมด ค่อย ๆ ยกชุดชงด้านบนออก ง่าย ๆ เพียงแค่นี้ ก็ได้กาแฟเวียดนามมาชิมแล้ว



ชุดประจำชาติเวียดนาม

ชุด "อ่าว หญ่าย "



ความประทับใจหนึ่งที่ผู้มาเยือนประเทศเวียดนามไม่เคยลืมเลย นั่นก็คือ ความสวยงามของหญิงสาวในชุด ประจำชาติของเวียดนาม หรือ ที่เรียกว่าชุด อ่าว หญ่าย

หญิงสาวชาวเวียดนามจะสวมชุด อ่าว หญ่าย สีสันต่าง ๆ เดินไปเที่ยวนอกบ้านบ้าง ไปตามถนนสาธารณะ หรือ อาจจะเป็นที่สำนักงาน ซึ่งถือว่าเป็นชุดที่ดูสุภาพ และสวยงาม บางครั้ง อาจจะเห็น สาวเวียดนามสวมชุดนี้ ไปโรงเรียน ซึ่งก็ถือว่าเป็นชุดนักเรียนของพวกเธอด้วย เด็กสาวชาวเวียดนามในชั้นมัธยม ทางรัฐบาลจะให้สวมชุด อ่าวหญ่าย สีขาว หรือ สีอื่น ๆ บ้าง เป็นเครื่องแบบประจำของพวกเธอ

ส่วนคนที่ดูมีอายุหน่อยก็มักจะใส่ชุดอ่าว หญ่ายนี้ โดยเลือกที่จะใส่ชุดสีเข้ม ๆ มีเนื้อผ้าที่มีราคา เช่น ผ้าสีดำ หรือ สีน้ำเงินเข้มบ้าง ซึ่งบางบริษัทก็เลือกที่จะสวมชุดอ่าวหญ่ายนี้เป็นชุดประจำบริษัทเลยทีเดียว

"อ่าว หญ่าย" แปลว่า "ชุด ยาว" ซึ่งสำเนียงนี้เป็นสำเนียงของภาคเหนือ ส่วนภาคใต้จะออกเสียงสั้น ๆ ว่า "อ่าว ซ่าย" ซึ่งส่วนมากแล้วในอดีตคนในภาคเหนือของประเทศเวียดนามจะนิยมใส่มากกว่าภาคใต้

แต่หลังจากสิ้นสุดสงครามเวียดนามในปี 1975 แล้ว ชุดนี้ก็เป็นที่นิยม สามารถพบเห็นได้แทบจะทุกภาคของประเทศ และได้รับความนิยมมาก



วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553

ประวัติเครื่องสำอาง


การใช้เครื่องสำอางจัดเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่มีมาแต่สมัยโบราณ มีการค้นพบว่า มีการใช้เครื่องสำอางมาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ จีน อินเดีย และต่อมาจนถึงปัจจุบัน โดยชาวกรีกเป็นชาติแรกที่มีการแยกการแพทย์และเครื่องสำอางออกจากกิจการทางศาสนา และยังถือว่าการใช้เครื่องสำอางเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องปฏิบัติต่อร่างกายให้ถูกต้องสม่ำเสมอ เป็นกิจวัตรประจำวัน

ศิลปะการใช้เครื่องสำอางและเครื่องหอมได้ถึงขีดสุดในระหว่าง 2 ศตวรรษแรกแห่งอาณาจักรโรมัน แล้วค่อยๆ เสื่อมลง และเมื่ออาณาจักรโรมันเสื่อมอำนาจลงในศตวรรษที่ 5 ศิลปะการใช้เครื่องสำอางจึงแพร่หลายเข้าสู่ทวีปยุโรป นอกจากนี้ ชาวอาหรับก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในการผลิตเครื่องสำอาง โดยได้มีการดัดแปลง แก้ไขส่วนผสมต่างๆ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีคุณภาพดีขึ้น เช่น การใช้กรรมวิธีการกลั่นเพื่อให้มีความบริสุทธิ์สูง การใช้แอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลาย เป็นต้น

เมื่อศิลปะการใช้เครื่องสำอางได้แพร่หลายเข้าสู่ในประเทศฝรั่งเศสมากขึ้น เจ้าหน้าที่ชาวฝรั่งเศสได้พยายามเสนอให้มีการแยกกิจการด้านเครื่องสำอางไว้เฉพาะ โดยให้แยกออกจากกิจการด้านการแพทย์ เนื่องจากกิจการด้านการแพทย์และเครื่องสำอางต้องอยู่ในการควบคุมของกฎหมาย ในระหว่างปี ค.ศ. 1400 – 1500 และความพยายามก็ประสบความสำเร็จในปี ค.ศ.1600 ศิลปะการใช้เครื่องสำอางได้แยกออกมาจากกิจการด้านการแพทย์อย่างชัดเจน ต่อมาในปี ค.ศ. 1800 ได้มีการรวบรวมและแยกแยะความรู้ในด้านศิลปะการใช้เครื่องสำอางออกเป็นหลายๆ ประเภท เช่น เภสัชกร ช่างเสริมสวย นักเล่นแร่แปรธาตุ ซึ่งต้องใช้ความรู้ที่ได้มาจากเภสัชกรรมและครื่องสำอางมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละอาชีพ

การผลิตเครื่องสำอางในช่วงแรกๆ นั้น ยังมีกรรมวิธีการผลิตที่ไม่แน่นอน เครื่องสำอางบางประเภทมีขายในร้านขายยา การผลิตเป็นความรู้ส่วนบุคคลที่ได้รับสืบทอดมาหรือได้จากการศึกษาค้นคว้า ลองผิดลองถูก จนถึงปลายศตวรรษที่ 19 ได้มีผู้นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่เข้ามาช่วยในการผลิตแทนวิธีเก่า และเมื่อผลิตเครื่องสำอางแต่ละชนิดจะมีเครื่องหมายการค้าชัดเจน และมีกรรมวิธีในการผลิตที่แน่นอน ทำให้เครื่องสำอางที่ผลิตขึ้นมีคุณภาพ สามารถเพิ่มรายได้ให้กับผู้ผลิต ทำให้มีการเพิ่มการผลิต และพยายามปรับปรุงคุณภาพของเครื่องสำอางให้มีคุณภาพสูงขึ้น

ต่อมาได้มีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เข้ามาปรับปรุงคุณภาพของเครื่องสำอาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาเคมี ได้มีส่วนเข้ามาช่วยในการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางให้มีคุณภาพสูง ในการผลิตแต่ละครั้งต้องมีส่วนประกอบที่คงที่ ได้ผลิตภัณฑ์อย่างเดียวกัน มีหลักการเลือกใช้วัตถุดิบที่ได้มาตรฐานในการผลิต และมีการตรวจสอบคุณสมบัติ ตลอดจนการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

ในปี ค.ศ. 1895 ได้มีการเปิดสอนวิชาการเครื่องสำอาง ในเมืองชิคาโก มลรัฐอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นครั้งแรก ทำให้นักศึกษาได้รู้จักวิธีการใช้เครื่องสำอางชนิดต่างๆ ในการรักษาผิวหนังและเส้นผม ต่อมาการศึกษาวิชานี้ได้แพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว

การศึกษาประวัติของเครื่องสำอาง อาจแบ่งตามยุคต่างๆ ตามประวัติศาสตร์สากลของโลก ได้ดังนี้

1. ยุคอียิปต์หรือยุคก่อนคริสตกาล
นักโบราณคดียกย่องให้ชาวอียิปต์เป็นชาติแรก ที่รู้จักคิดค้นและผลิตเครื่องสำอาง

เนื่องจากมีการค้นพบหลักฐานทางโบราณวัตถุที่เก่าแก่ และร่องรอยในการทำพิธีกรรมทางศาสนา และการบูชาเทพเจ้าต่างๆ ในสมัยนั้น โดยได้มีการเผาเครื่องหอมหรือกำยาน และมีการใช้เครื่องเทศ สมุนไพร และน้ำมันต่างๆ สำหรับรักษาคงสภาพของศพไว้ เพราะมีความเชื่อว่า วิญญาณของคนที่ตายแล้วจะกลับมาเกิดใหม่ในร่างเดิมอีกครั้ง

ในความเป็นจริงประเทศจีน น่าจะเป็นชาติแรกที่มีการผลิตเครื่องสำอางขึ้นมาใช้ แต่เนื่องจากไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในการยืนยัน จึงถือว่าประเทศอียิปต์เป็นชาติแรกที่มีการผลิตเครื่องสำอางขึ้นมาใช้ โดยนักโบราณคดีได้ค้นพบหลักฐาน ดังต่อไปนี้

1.1
ที่ฝังพระศพของกษัตริย์องค์แรกในราชวงศ์เทไนท์ (Thenite)
นักโบราณคดี ได้ค้นพบภาชนะที่ใช้บรรจุผงสำหรับทาเปลือกตา เรียกว่า Kohl ซึ่ง
ทำมาจากผงเขม่าผสมกับพลวง โดยเครื่องสำอางที่พบนี้ น่าจะมีอายุไม่น้อยกว่า 3,500 ปี ก่อน คริสตกาล
1.2
ที่ฝังพระศพของกษัตริย์องค์ที่ 18
มีการค้นพบดินสอเขียนคิ้วและขอบตา (Stibium pencil) ซึ่งทำมาจาก แอนทิโมนี
ซัลไฟด์ (antimony sulfide) นอกจากนี้ยังมีการค้นพบ ภาพเขียนในกระดาษพาพีรูส (papyrus) แสดงรูปผู้ชายผู้หญิงใส่เครื่องประดับผม เรียกว่า นาร์ด (Nard) บนศีรษะ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ชาวอียิปต์ในสมัยนั้น รู้จักการเสริมสวยแล้ว 1,500 ปี ก่อนคริสตกาล
1.3
ที่ฝังพระศพของกษัตริย์ทูทันคาเมน (Tutankhamen)
นักโบราณคดีชื่อ ฮอเวิร์ด คาร์เตอร์ (Howard Carter) ได้ค้นพบเครื่องสำอางมาก
มายหลายชนิด รวมทั้งน้ำมันหอมชนิดต่างๆ จากกษัตริย์องค์นี้ เมื่อ 1,350 ปี ก่อนคริสตกาล


2. ยุคโรมัน
ในยุคที่โรมันเรืองอำนาจ ชาวโรมันได้เข้าไปครอบครองกรีกและอียิปต์ ไปจนถึง
เมืองอเล็กซานเดรีย บุคคลที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ยุคนี้คือ จูเลียส ซีซาร์ (Jullius Caesar) มาร์ค แอนโทนี (Marcus Antonius) และ พระนางคลีโอพัตราที่ 7 (Cleopatra VII) ซึ่งพระนางคลีโอพัตรา รู้จักการเสริมสวยทำให้เป็นที่ดึงดูดใจแก่ผู้พบเห็น และยังเป็นผู้คิดค้นเครื่องสำอางหลายประเภท ชาวโรมันได้รับอิทธิพลจากชาวกรีกและชาวอียิปต์ จึงทำให้รู้จักศิลปะการใช้เครื่องสำอาง และการแต่งกาย
3. ยุคมืด
หลังจากอาณาจักรโรมันได้เสื่อมอำนาจลง เนื่องจากเกิดสงครามทางศาสนา ความ
เจริญก้าวหน้าทางเครื่องสำอางก็หยุดชะงัก แต่ในขณะเดียวกัน ในโลกตะวันออกกลับมีความเจริญก้าวหน้าของศิลปะการใช้เครื่องสำอาง นำโดยประเทศจีนและอินเดีย ซึ่งได้ทำการค้าติดต่อกับประเทศทางยุโรป ผ่านทางเอเชียไมเนอร์ หรือเอเชียตะวัตกเฉียงใต้ โดยมีการซื้อขายสินค้าต่างๆ เช่น เครื่องเทศ ผ้า รวมทั้งเครื่องสำอาง

4. ยุคอิสลาม
ยุคอิสลามอยู่ในช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 7 – 12 หลังจากเสร็จสิ้นสงครามหลาย
ศตวรรษ ความเจริญก็ได้เกิดขึ้นบริเวณเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ หรือเอเชียไมเนอร์ ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของชาวอาหรับ ในยุคนี้เป็นยุคของการเกิดศาสดาของศาสนาอิสลาม คือ พระมะหะหมัด การเผยแพร่ศาสนาอิสลาม ทำให้สามารถรวมรวบอาณาจักรตั้งแต่ซีเรียจดประเทศอียิปต์ และยังข้ามไปทวีปแอฟริกาไปยึดครองประเทศสเปนและยุโรปบางส่วนได้ ชาวอาหรับมีข้อดีคือ เมื่อสามารถยึดครองประเทศใดได้ จะไม่เผาทำลายบ้านเมือง แต่จะนำเอาวิชาการของประเทศนั้นๆ มาใช้ ในยุคนี้มีบุคคลที่มีความสำคัญต่อวงการเครื่องสำอางคือ อิบน์ ซีนา (Ibn Sina) เป็นชาวเปอร์เซียที่ค้นพบวิธีการกลั่นน้ำหอมจากดอกกุหลาบ (rose water) อีกคนหนึ่งคือ อาบู มอนเซอ มูวาฟแฟส (Abu Monsur Muwaffax) เป็นเภสัชกรชาวเปอร์เซียที่ค้นพบความมีพิษของทองแดงและตะกั่วในเครื่องสำอาง และยังค้นพบว่า สามารถใช้แคลเซียมออกไซด์ (CaO) ในการกำจัดขน อีกคนที่สำคัญก็คือ อูมาร์ อิบน์ อัล-อาดิม (Umar Ibn Al-Adim) เป็นนักประวัติศาสตร์และครู ชาวซีเรีย ได้เขียนคู่มือเกี่ยวกับการทำน้ำหอมไว้มากมาย ยุคอิสลามนี้เรืองอำนาจอยู่ 300 ปี ก็เสื่อมอำนาจลงเนื่องจากแพ้สงครามแก่ชาวคริสเตียนในประเทศสเปนและหมู่เกาะซิซิลี
5. ยุคยุโรปเริ่มเฟื่องฟู

ยุคยุโรปเริ่มเฟื่องฟูนี้ อยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9 –10 โดยเริ่มแรกความเจริญรุ่ง
เรืองจะอยู่บริเวณยุโรปตอนใต้ แถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียน แต่หลังจากที่มีการเผลแพร่ศาสนาคริสต์เข้าสู่ประเทศในยุโรป ก็ได้มีการเผยแพร่อารยธรรมและวัฒนธรรมเข้าไปด้วย โดยถือว่ากรุงโรมเป็นศูนย์กลางที่ได้รับการเผยแพร่อารยธรรมและวัฒนธรรม
6. ยุคยุโรปก้าวหน้า
ยุคยุโรปก้าวหน้า ถือเป็นยุคทองของยุโรป อยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 10 – 16
เป็นยุคที่ชาวยุโรปเริ่มมีการแสวงหาความรู้ทุกสาขาวิชา ได้มีการเปิดสถานที่ในการสอนวิทยาการทางการแพทย์และเภสัชกรรม โดยตั้งโรงเรียนที่เมืองซาลาโน (Salarno) และเปิดมหาวิทยาลัย ที่เมืองเนเปิลส์ (University of Naples) และมหาวิทยาลัยแห่งโบโลญา (University of Bologna) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีการรักษาโดยการทำศัลยกรรมเป็นแห่งแรก และมีความเกี่ยวข้องกับเครื่องสำอาง

ในยุคนี้ เป็นยุคที่ชาวยุโรป มีความรู้ในการผลิตน้ำหอมจากพืชและสัตว์บางชนิด และสามารถทำรูจ (rouge) สำหรับทาแก้มจากดินสีแดงที่เรียกว่า ซินนาบาร์ (cinnabar) ซึ่งมีไอร์ออน ออกไซด์ เป็นองค์ประกอบ นอกจากนี้ ยังสามารถทำแป้งทาหน้าจาก เลดคาร์บอเนต และรู้จักการทำน้ำมันแต่งผมจากน้ำมันพืชและน้ำมันดินจากธรรมชาติ

วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

วัดไทยในฝรั่งเศส





วัดธรรมปทีป

จุดตั้งต้นของวัดธรรมปทีปนั้น เริ่มขึ้นมาในปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) โดยการนำของ พระมหาเกรียงไกร ธีรรํสิโก ป.ธ.9 ร่วมกับศรัทธาของพุทธศาสนิกชนในสาธารณรัฐฝรั่งเศสและภาคพื้นทวีปยุโรปได้ร่วมกันจัดตั้งพุทธสมาคมไทยนานาชาติแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส (Association Internationale Thai des Bouddhistes en France, A.I.T.B.F.) ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแผ่และ ทำนุบำรุง พระพุทธศาสนาให้เป็นหลักของศาสนิกชนโดย ไม่แบ่งแยกภาษา และเชื้อชาติ เพื่อประโยชน์สุขของชาวพุทธ และชาวโลกทุกหมู่เหล่า

ต่อมา วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) ทาง พุทธสมาคมไทยนานาชาติแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ได้รับการ รับรองอย่างเป็นทางการให้เป็นสมาคมองค์กรการกุศล ตามกฎหมาย ( Préfecture de la Seine-et-Marne ) และ ได้รับการประกาศชื่อ พุทธสมาคมไทยนานาชาติ แห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส” (A.I.T.B.F.) อย่างเป็นทางการในหนังสือ ทางการของประเทศฝรั่งเศส (JOURNAL OFFICIEL DE LA REPUBLIQUE FRANCAISE ) เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ของปีเดียวกัน กว่าจะมาเป็น วัดธรรมปทีป

การดำเนินการเบื้องต้นนั้น พระมหาเกรียงไกร ธีรรํสิโก ป.ธ.9 ร่วมกับพุทธศาสนิกชนทั้งหลายในสาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหภาพยุโรป ได้จัดงาน ทอดผ้าป่าสามัคคีมหากุศลขึ้น เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2542 (ค.ศ. 1999) เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหาวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 72 พรรษา โดยมีวัตถุประสงค์จัดตั้งเป็นกองทุนเริ่มแรกในการซื้อที่ดิน เพื่อสร้าง วัดธรรมปทีปให้เป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่ พระพุทธศาสนาในประเทศฝรั่งเศสและเพื่อเป็นศูนย์รวม จิตใจของชาวพุทธทุกเชื้อชาติ ในการจัดงานครั้งนั้นได้ปัจจัย มาเป็นจำนวน 320,504 ฟรังซ์ (สามแสนสองหมื่น ห้าร้อยสี่ฟรังซ์)

และได้จัดซื้อ Château de Lugny เลขที่ 243 Rue des Marronniers เขตเมืองมัวซี ครามาแยล (Moissy-Cramayel) มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 50 ไร่ (5 hectares 81 ares et 83 centiares ) ซึ่งประกอบด้วยตัวปราสาทที่สร้างขึ้นในราวกลาง ศตวรรษที่ 19 อาคารที่พักอีกจำนวน 5 หลัง และสวนป่าอนุรักษ์แห่งเมืองมัวซี ครามาแยล ซึ่งอยู่ห่างจาก กรุงปารีสประมาณ 50 กิโลเมตร

ต่อมา ได้ดำเนินการลงนามในสัญญาซื้อขาย ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์จากสมาคม AMANA Hommes et Migrations เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) โดยต้องใช้ทุนทรัพย์ในการดำเนินการทั้งสิ้น 3,850,000 ฟรังซ์ (สามล้านแปดแสนห้าหมื่นฟรังซ์) ในการนี้ทางพระมหาเกรียงไกร ธีรรํสิโก ป.ธ.9 ได้นำเงินสดจำนวน 1,000,000 ฟรังซ์ (หนึ่งล้านฟรังซ์) ซึ่งได้มาจากการทำบุญของพุทธศาสนิกชนทุกเชื้อชาติ ไปใช้ดำเนินการทำสัญญากู้เงิน จากธนาคาร Credit Cooperatif เป็นจำนวนเงิน 2,900,000 ฟรังซ์ (สองล้านเก้าแสนฟรังซ์) โดยมีสัญญาผ่อนชำระ 10 ปี โดยใช้ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ เป็นทุนทรัพย์ค้ำประกันในการ กู้ยืมจึงทำให้การดำเนินการซื้อขาย เป็นไปได้ด้วยความเรียบร้อย

หลังจากที่จัดหาพื้นที่สำหรับการเตรียมการสร้างวัดได้สำเร็จแล้ว ในปีเดียวกันนั้นเอง (พ.ศ. 2543 / ค.ศ. 2000) พระมหาเกรียงไกร ธีรรํสิโก ป.ธ.9 ได้นิมนต์เหล่าคณะพระธรรมทูต สายธรรมยุต ผู้มีความตั้งใจและมีปณิธานอย่างแรงกล้าที่จะ จาริกไป เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนหมู่มากและเพื่อเกื้อกูล แก่ชาวโลกให้เดินทางมายังฝรั่งเศส เพื่อร่วมเป็นกำลังสำคัญ ร่วมกับคณะศรัทธาชาวพุทธทั้งในสาธารณรัฐฝรั่งเศส และภาคพื้นยุโรปซึ่งต่างมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาปรับปรุง เสนาสนะและจัดตั้ง วัดธรรมปทีปขึ้นจนเป็นผลสำเร็จ โดยยึดหลักการและแนวคิดของการทำงานเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่คำนึงถึงประเทศใด ชาติใด ภาษาใด แต่คำนึงถึงประโยชน์ สุขของชาวพุทธและชาวโลกเป็นสำคัญ

ในปี พ.ศ. 2543 คณะสงฆ์ไทย นำโดยมหาเถรสมาคม ได้มีมติรับทราบการก่อตั้งวัดธรรมปทีปอย่างเป็นทางการและแต่งตั้งให้ พระมหาเกรียงไกร รธีรรํสิโก ป.ธ.9 เป็นเจ้าอาวาสวัด ธรรมปทีป

และด้วยพลังศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่าที่ ดำเนินเรื่อยมาอย่างเข้มแข็งตลอดระยะ เวลา 6 ปี ก็ได้ทำให้ พุทธศาสนาในยุโรปได้ตั้งมั่นถาวรขึ้น ด้วยการร่วมกันประกอบ พิธีผูกพัทธสีมา ฝังลูกนิมิตและฉลองอุโบสถขึ้นเป็นผลสำเร็จ ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006)

ณ เวลานั้น นับเป็นการเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ของปราสาทลุญญี แห่งเมืองมัวซี ครามาแยล สาธารณรัฐฝรั่งเศส ไปในคราวเดียวกัน เมื่อปราสาทลุญญีซึ่งสร้างขึ้นในกลาง ศตวรรษที่ 19 ได้รับการ สถาปนาให้เป็นอุโบสถในพุทธศาสนา นับเป็นการแฝงฝังจิตวิญญาณใหม่แห่งโลกตะวันออกลงไป ในสถาปัตยกรรมตะวันตกเพื่อประโยชน์แก่ชนหมู่มาก และเป็นสิ่งยืนยันว่า พุทธศาสนานั้นสามารถตั้งมั่น เติบโต และแผ่ร่มเงาได้ข้ามพ้นพรมแดนของภาษา และเชื้อชาติ

พระมหาเกรียงไกร ธีรรํสิโก ป.ธ.9 ร่วมกับคณะสงฆ์ พระธรรมทูต วัดธรรมปทีปสามารถสร้างวัดได้สำเร็จและมี ความเจริญทั้งทางศาสนถาวรวัตถุและการเผยแผ่ศาสนา ก็เนื่องด้วยความศรัทธา ช่วยเหลือ ส่งเสริมและเสียสละ ของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ทั้งจากชาวไทย ลาว จีน กัมพูชา เวียดนาม ฝรั่งเศสและจากสหภาพยุโรป จนในท้ายที่สุด ทางวัดธรรมปทีป สามารถชำระหนี้สินที่กู้ยืมมาจากธนาคาร ได้ก่อนกำหนด ในปี พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) ที่ผ่านมา

ณ กาลปัจจุบัน พุทธศักราช 2552 (ค.ศ. 2009) วัดธรรมปทีปได้วัฒนาถาวรมาถึงขวบปีที่ 9 ภารกิจของ พุทธศาสนา คณะสงฆ์และพระธรรมทูต ยังคงดำเนินอยู่สืบไป โดยร่วมแรงร่วมใจกันกับคณะศรัทธาทุกกลุ่มชน อย่างไร้ข้อ จำกัดทั้ง ทางภาษาและเชื้อชาติ

วัตถุประสงค์ของการสร้างวัดธรรมปทีป

1. เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในมหามงคลวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ ครบ 6รอบ 72 พรรษา
2. เพื่อเป็นศูนย์กลางในการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศฝรั่งเศสและยุโรปของคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต
3. เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจและเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย
4. เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ประเพณี ศิลปะ ภาษา วัฒนธรรมไทยต่างๆ
5. เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนและรัฐบาลฝรั่งเศส ถึงความจำเป็นที่ประชาชนชาวเอเชียต้องมีพระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งทางใจ
6. เพื่อเป็นศูนย์กลางในการติดต่อประสานงานและอำนวยการ ในการเผยแผ่
พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยเพื่อประโยชน์สุขของชาวพุทธในประเทศฝรั่งเศสและยุโรป
7. เพื่อดำเนินการจัดสร้างวัดอย่างเป็นทางการในประเทศฝรั่งเศส

สถานที่ตั้งของวัดธรรมปทีป
ในปัจจุบัน ทางสมาคมฯ ได้ดำเนินการจัดการเซ็นสัญญาจัดซื้อที่ดินที่ Chateau de Lugny MOISSY CRAMAYEL 77550 มีเนื้อที่ประมาณ 40 ไร่ มีอาคารที่พัก จำนวน 5 หลัง มีรั้วรอบขอบชิดเป็นเอกเทศ อยู่ในเขตเมืองมอสซี่ คามาเยล ห่างจากกรุงปารีสประมาณ 50 กิโลเมตร อาคารที่พัก 5 หลัง มีห้องพัก 50 ห้อง มีอาคารโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ 1 หลัง 7 ห้องเรียน อาคารสำหรับผู้ต้องการฝึกอบรมกัมมัฎฐาน
1 หลังมีห้องพัก 10 ห้อง มีศาลาการเปรียญ 1 หลังใหญ่ มีห้องครัวใหญ่ ส่วนหนึ่งของบริเวณวัดเป็นป่าใหญ่


















กาแฟ


ตำนานกาแฟ





ตำนานการเกิดกาแฟมีหลายเรื่อง เรื่องที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปคือเรื่องนายกัลดี (Kaldi) ชาว อบิซีเนีย คนเลี้ยงแพะ ปกติจะต้อนฝูงแพะออกไปหากินอาหารตามทุ่งหญ้าเนินเขาต่างๆ ริมฝั่งทะเลแดง วันหนึ่งสังเกตเห็นความผิดปกติของฝูงแพะมีความคึกคักขึ้นหลังจากกินอาหารบริเวณเนินเขา คัลดี จึงตามฝูงแพะขึ้นไปพบว่าแพะเหล่านั้นกินผลไม้สุกสีแดง ทำให้พวกแพะคึกคัก กระโดดโลดเต้นอย่างคึกคะนอง คัลดีจึงลองทดสอบกินผลไม้นี้พบว่ามีความรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่าขึ้นมา กัลดีจึงนำผลไม้นี้ไปอวดกับพระนักบวชในหมู่บ้าน พระนักบวชจึงไปสังเกตดูต้นไม้และนำผลไม้นี้กลับมาทดลองคั่วและต้มชง ดื่มทดลองพบว่าสามารถสร้างความกระปรี้กระเปร่าทำให้สวดมนต์ได้อย่างยาวนานในตอนกลางคืนโดยไม่มีอาการง่วงนอน

อีกตำนานหนึ่งเป็นเรื่องของ อาลี บิน โอมา (Ali Bin Omar) ที่ได้กระทำผิดประเพณีกับ เจ้าหญิงและได้ถูกเนรเทศไปอยู่ที่บริเวณภูเขาในประเทศเยเมน ที่นั่นโอมาได้ค้นพบต้นไม้ที่มีดอกสีขาว สามารถต้มเมล็ดแล้วดื่ม ได้อย่างมีความสุข เมื่อเขาเดินทางไปแสวงบุญที่นครเมกกะ ได้นำเมล็ดต้นไม้นี้ไปด้วย และที่เมกกะโอมาได้ช่วยรักษาโรคหิด โรคผิวหนังของนักแสวงบุญหลายคน ด้วยเหตุนี้เมื่อเขาเดินทางกลับจึงได้รับการขนานนามให้เป็นเทวดาผู้ให้การอุปถัมถ์ต่อผู้ปลูกกาแฟ เจ้าของร้านกาแฟ และผู้ดื่มกาแฟ







ประวัติกาแฟโลก

กาแฟถูกค้นพบประมาณ ค . ศ .850 ปี ก่อนคริสศักราช ชาวแอฟริกาพื้นเมืองใช้กาแฟเป็นอาหารมานานแล้ว สันนิฐานว่ามนุษย์สมัยโบราณ อาจเรียนรู้จากการสังเกตสัตว์ว่ากินอะไรและทดลองกินพบว่า ผลกาแฟสุกมีรสหวานเป็นที่ชื่นชอบของนกและสัตว์ต่างๆ ในช่วงแรกๆ รับประทานผลสุก ต่อมานำผลสุกมาทำไวน์ เรียกว่า ควาฮ์วาฮ์ (qahwah) เมื่อลองเคี้ยวเมล็ดกาแฟ จะเกิดมีความรู้สึกว่าสบายหายเหน็ดเหนื่อยจากอากาศร้อนหรือการเดินทางไกล เพราะกาแฟมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นร่างกาย ทำให้กาแฟได้เริ่มเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ต่อมามีการพัฒนานำเมล็ดกาแฟมาป่นผสมไขมันสัตว์ปั้นเป็นก้อนไว้กินเป็นอาหารติดตัวในการเดินทางชาวพื้นเมืองบางเผ่าในแอฟริกา ใช้กาแฟเซ่นไหว้พระเจ้า และผีสางที่นับถือ ในพิธีฉลองสาบานพี่น้องร่วมสายโลหิต มีการแกะเมล็ดกาแฟจากผลกาแฟสองเมล็ดแบ่งให้พี่น้องคนละหนึ่งเมล็ด เพื่อนำไปจุ่มหรือทาด้วยโลหิตของตนและมอบให้พี่น้องแต่ละคนไปเคี้ยวรับประทาน กาแฟเป็นของขวัญที่มอบให้แก่แขกที่มาเยี่ยมเคี้ยวก่อนที่จะเลี้ยงอาหารเป็นต้น ต่อมากาแฟจึงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องดื่มในระยะแรกใช้เมล็ดกาแฟใส่ในน้ำต้มบนกองไฟ จนน้ำกาแฟออกเป็นสีเหลืองกาแฟได้มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ มีการตากเมล็ดกาแฟเพื่อให้เก็บไว้ได้นานขึ้น มีการคั่วบด แช่ ต้ม กาแฟ โดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ครกบด กระทะ เครื่องต้ม กาแฟ ฯลฯ เพื่ออำนวยความสะดวกยิ่งขึ้น

ในราว ค . ศ .1000 การค้าทาสกำลังเฟื่องฟู พ่อค้าทาสนำทาสนิโกรจากทางใต้ของซูดาน ไปประเทศซาอุดิอาระเบีย พ่อค้าทาสและพวกทาสได้นำผลและเมล็ดกาแฟติดตัวไปด้วย การปลูกกาแฟของชาวอาหรับถูกเก็บเป็นความลับและเมล็ดกาแฟเป็นสิ่งหวงห้าม เมล็ดการแฟดิบนำออกนอกประเทศ ยกเว้นต้องต้มหรือลวกในน้ำร้อน แต่เมล็ดกาแฟยังถูกลักลอบนำออกไปแพร่กระจายจากเมกกะโดยผู้แสวงบุญที่กลับจากเมกกะไปยังประเทศมุสลิมของตนเองทั่วโลกราวศตวรรษที่ 9 กาแฟเป็นพืชที่รู้จักกันดีในแถบตะวันออกกลาง จนถึงต้นศตวรรษที่ 14 ชาวอาหรับเริ่มการปลูกกาแฟเป็นการค้า บริเวณคาบสมุทรอาระเบียใกล้เมืองท่ามอคค่า (Mocha) ต่อมากาแฟแถบนี้กลายเป็นสายพันธุ์กาแฟที่มีชื่อเสียง ศตวรรษที่ 15 กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในประเทศตะวันออกกลางและดินแดนอาหรับ จากอียิปต์ เมกกะและซีเรียแล้วเข้าสู่เมืองคอนสแตนติโนเบล ประเทศตุรกี ในสมัยออตโนมัน ราวปี ค . ศ .1453 ในช่วงแรก ชาวเติร์กดื่มกาแฟที่บ้านและใช้ต้อนรับอาคันตุกะผู้มาเยี่ยมเยียนจนในปี ค . ศ .1554 ร้านกาแฟร้านแรกในโลกเกิดขึ้นที่นครคอนสแตนติโนเปิล ปัจจุบันคือเมืองอิสตันบูล โดยชาวซีเรีย 2 คน มีการเสริฟกาแฟในร้านที่มีโซฟาที่สวยงามสะดวกสบาย เป็นแหล่งที่พบปะพูดคุยของคนทั้งกวี นักนิยมศิลปและวรรณกรรมนักวิทยาศาสตร์ นักการเมือง ฯลฯ ร้านกาแฟได้รับความนิยม มีการขยายร้านกาแฟมากขึ้น จนถือได้ว่าเป็นร้านกาแฟต้นแบบในเมืองต่างๆ ของยุโรปในช่วงศตวรรษที่ 17-18 จนถึงปัจจุบัน

กาแฟสู่ยุโรป พ่อค้าชาวเวนิสเป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกที่ทำการค้ากาแฟกับอาหรับในปี ค . ศ .1615 ซื้อกาแฟจากเมืองมอคค่า (Mocha) นำไปขายในยุโรปเป็นจุดเริ่มต้นการค้าที่สร้างความร่ำรวยให้กับพ่อค้าอาหรับผู้ส่งกาแฟ ต่อมาพ่อค้าชาวดัตช์ นำกาแฟไปเผยแพร่ในอัมสเตอร์ดัมท์ ชาวดัตช์ ได้พยายามศึกษาเก็บข้อมูลต่างๆ ของกาแฟทั้งด้านพฤษศาสตร์ และการค้า ในปี ค . ศ .1616 ต้นกาแฟต้นแรกถูกนำไปยุโรปแล้วขยายพันธุ์ที่สวนพฤษศาสตร์ในเมืองอัมสเตอร์ดัมและนำไปปลูกในเขตประเทศแถบหมู่เกาะอินเดียตะวันออก และชวาในปี ค . ศ .1663 ร้านกาแฟร้านแรกเปิดในอัมสเตอร์ดัมท์ ทำให้ประชาชนทุกชนชั้นมีโอกาสลิ้มรสกาแฟ ร้านกาแฟจะตกแต่งอย่างประณีตสวยงามในบรรยากาศที่สะดวกสบาย

ในอิตาลีปกติชาวอิตาลีนิยมดื่มน้ำผลไม้ และเครื่องดื่มจากพืชต่างๆ ในปี ค . ศ .1625 มีการขายกาแฟในกรุงโรม โดยชาวอิตาลีเห็นว่ากาแฟเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง ค . ศ .1645 ร้านขายกาแฟร้านแรกเกิดขึ้นในเวนิส จนในปี ค . ศ .1690 มีร้านกาแฟมากมายในเวนิส ร้านกาแฟเป็นที่ชุมนุมของชนชั้นสูง และในปี ค . ศ .1720 ร้านกาแฟที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในเวนิสคือ ร้านฟลอเรนท์ (Florian) เปิดให้บริการในฝรั่งเศส ปี ค . ศ .1644 มีการส่งเมล็ดกาแฟจากเมืองอเล็กแซนเดรีย สู่เมือง มาแซร์ ค . ศ .1671 ร้านกาแฟร้านแรกจึงเปิดขึ้นที่นี่ ในปี ค . ศ .1672 นายปาสคาล ชาวอามาเนีย เปิดขายกาแฟเป็นครั้งแรกที่ปารีสในงาน Saint Germain fair และได้เปิดร้านขึ้นหลังจากนั้น ในปี 1689 Procopio dei Coltelli ชาวอิตาลีได้เปิดร้านกาแฟที่มีชื่อเสียงขึ้นในกรุงปารีส มีบุคคลที่มีชื่อเสียงทั้งศิลปิน นักการเมือง ฯลฯ นิยมไปดื่มกาแฟที่ร้านนี้กันมาก จนในปี ค . ศ .1690 มีร้านกาแฟในปารีสมากกว่า 300 ร้าน ในสมัยพระเจ้าหลุยที่ 14 กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากจนอาจเรียกได้ว่าเป็นเครื่องดื่มของพระราชา มีคำโฆษณาขายกาแฟว่า กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่คั่วและผสมในหม้อทองคำ โดยพระหัตถของพระราชา

ในปี ค . ศ .1714 เจ้าเมืองอัมสเตอร์ดัมส์ ได้ส่งต้นกาแฟมาถวายเป็นของขวัญแด่พระเจ้าหลุยที่ 14 และได้นำมาปลูกในสวนพฤษศาสตร์ กรุงปารีส เนื่องจากกาแฟไม่ทนทานต่อความหนาวเย็น จึงมีการสร้างเรือนกระจกเพื่อปลูกกาแฟนับเป็นเรือนกระจกพืชเรือนแรกของโลก ฝรั่งเศสได้พยายามนำกาแฟไปปลูกในดินแดนภายใต้ปกครองเช่นกัน โดยมีการนำการแฟจากเยเมนไปปลูกในเกาะเบอร์บอน (Bourbon) ( ปัจจุบันคือเกาะลารียูเนียน ) เกาะภูเขาไฟเล็กๆ ในมหาสมุทรอินเดีย 800 กิโลเมตรจากเกาะมาดากัสการ์ ตั้งแต่ปี ค . ศ .1708 แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จนในปี ค . ศ .1715-1718 มีการนำกาแฟมาปลูกอีกและประสบผลสำเร็จ จนในปี ค . ศ .1817 กาแฟให้ผลผลิตเป็นจำนวน ถึง 1,000 ตัน กาแฟจากเกาะเบอร์บอน เป็นพันธุ์อาราบิก้าที่สำคัญคือชื่อพันธุ์เบอร์บอน (Bourbon) เริ่มต้นจากเกาะแห่งนี้ และได้นำรุ่นลูกหลานไปปลูกในที่อื่นๆ เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก

ในอังกฤษ จากบันทึกของ John Evelyn ค . ศ .1637 กล่าวถึงการดื่มกาแฟของสมาชิก Balliol College ในออกฟอร์ด (Oxford) กาแฟเป็นที่นิยมในหมู่อาจารย์และนักศึกษา เพราะกาแฟช่วยกระตุ้น ให้สามารถอ่านหนังสือในเวลากลางคืนได้นานขึ้น ในปี ค . ศ .1650 จาคอป (Jacob) ชาวเลบานอนตั้งร้านกาแฟร้านแรกขึ้นชื่อ Angle Inn ที่ออกฟอร์ดต่อมามีร้านกาแฟเกิดขึ้นในลอนดอนที่ St Michael's Alley โดยชาวกรีกชื่อ ปาสควาลโรเซ่ (Pasqua Rosee) ร้านกาแฟเป็นสถานที่สำคัญของบุคคลทั่วไป เป็นที่พบปะของนักธุรกิจข้อตกลง การเซ็นต์สัญญา การแลกเปลี่ยนข่าวสารร้านกาแฟเป็นจุดกำเนิดสถาบันหลายอย่างเช่นตลาดหลักทรัยพ์ บริษัทประกัน Baltic และ Lloyds ร้านกาแฟเป็นที่พักผ่อนของบรรดานักเขียน กวี ทนายความ นักปรัชญา นักการเมือง ร้านกาแฟ บางแห่งเก็บค่าธรรมเนียมเข้าใช้บริการอัตราคนละ 1 เพนนี เพื่อให้สามารถถกเถียงให้ความคิดเห็นในด้านการเมืองและวรรณกรรมจนเป็นที่รู้จักในนามมหาวิทยาลัยเพนนี่ภายในร้านมีกล่องทองเหลืองสลักคำว่า To Insure Promptness เพื่อความทันใจ ภายหลังถูกย่อให้สั้นเหลืออักษร ตัวแรกคือทิป (Tip) ในปี ค . ศ .1675 พระเจ้าชาร์ลที่ 2 ประกาศปิดร้านกาแฟ เนื่องจาก ผู้หญิงอังกฤษต่อต้านการดื่มกาแฟ เพราะผู้ชายใช้เวลาและเงินทองหมดไปที่ร้านกาแฟนอกบ้าน หลังจากนั้นไม่นานพวกพ่อค้ารายใหญ่ รายย่อยได้ถวายฎีกาให้ยกเลิกการปิดร้านกาแฟ ทำให้ร้านกาแฟเปิดขึ้นใหม่อีก ในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 บรรยากาศร้านกาแฟมีการเปลี่ยนไป ร้านกาแฟมีการเสริฟเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ลมากขึ้น กลุ่มลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลง นักธุรกิจนิยมดำเนินธุรกิจของตนในสถานที่ทำงานที่เป็นหลักแหล่ง ที่สะดวกปลอดภัยกว่า โรงงานและสถานที่ทำงานจัดให้มีห้องสมุด ทำให้หนังสือพิมพ์และหนังสือต่างๆ สามารถหาได้ง่ายขึ้น ร้านกาแฟจึงเสื่อมความนิยมในเวลาต่อมา

กาแฟสู่อเมริกา ราว ค . ศ .1655 ชาวดัตช์นำกาแฟเข้ามาจากประเทศเนเธอร์แลนด์เข้ามาในอเมริกา แก่ชุมชนชาดัตช์ในนิวอัมสเตอร์ดัม ( นิวยอร์ค ) ช่วงแรกถือว่า เป็นผลิตภัณฑ์ราคาสูง ในปี ค . ศ .1688 มีหลักฐานว่ามีการดื่มกาแฟผสมน้ำตาลหรือน้ำผึ้งและซินเนมอลในนิวอัมสเตอร์ดัมส์ ในปี ค . ศ .1670 โดโรธี โจนส์ (Dorothy Jones) ได้รับอนุญาตขายกาแฟในบอสตัน และมีการเปิดร้านกาแฟขึ้นหลายแห่งในบอสตัน นิวยอร์ค ฯลฯ ร้านกาแฟที่มีชื่อเสียงจะเป็นที่พบปะของบุคคลชั้นสูง นักการเมือง เจ้าหน้าที่อังกฤษ แต่เมื่อเกิดเหตุการ Boston Tea Party จากประท้วงการเก็บภาษี๋ชาต่อรัฐบาลอังกฤษในปี ค . ศ .1767 นับเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามประกาศอิสระภาพของสหรัฐอเมริกาและต่อต้านสินค้าอังกฤษ ชาวอเมริกันปฏิเสธการดื่มชาหันมาดื่มกาแฟแทน ทำให้ชาวอเมริกันกลายเป็นนักดื่มกาแฟ แม้ในสงครามกลางเมืองระหว่างฝ่ายเหนือ ฝ่ายใต้ ทหารฝ่ายเหนือต้องมีกาแฟเป็นสเบียงคนละ 8 ปอนด์ โดยมีพ่อค้าชาวฝรั่งเศสและดัทซ์นำเข้ากาแฟ่จากอาณานิคมของตน เช่น ประเทศหมู่เกาะในทะเลคาริเาบียนและคิวบา จนในปัจจุบันสหรัฐอเมริกายังเป็น ผู้นำเข้ากาแฟรายใหญ่ของโลก

กาแฟสู่ลาตินอเมริกาใต้ ในช่วงต้น ค . ศ .1718 มีการนำต้นกาแฟต้นแรกจากเนเธอร์แลนด์ไปปลูกในประเทศสุรินัม ดินแดนในปกครองของดัตช์ เป็นการเริ่มการปลูกกาแฟครั้งแรกทวีปอเมริกา ประมาณปี ค . ศ .1723 นายทหารเรือชาวฝรั่งเศส ชื่อ กาเบรียล แมธธิว เดอคิว (Garbriel Methieu de Clieu) นำต้นกาแฟจากฝรั่งเศสไปยังเกาะมาตินิค (Martinique) ประเทศกิอานากาของฝรั่งเศส การเดินทางเป็นไปด้วยความยากลำบากทั้งพายุ โจรสลัด จนถึงต้องสละนำจืดส่วนตัวรดต้นกาแฟ จนมาถึงจุดหมายปลายทาง ต้นกาแฟจึงให้ผลผลิต ในเวลาต่อมาชาวสเปนได้นำกาแฟเข้าสู่อาณานิคมในหมู่เกาะอินเดียตะวันตก ค . ศ .1748 มีการนำเมล็ดกาแฟจากสาธารณรัฐโดมิกันไปปลูกที่คิวบา ต่อมาหมอสอนศาสนาชาวสเปนนำเมล็ดกาแฟจากคิวบาไปปลูกที่ประเทศกัวเตมาลาและเปอร์เตอริโก ในปี ค . ศ .1779 นำเข้าไปปลูกในประเทศคอสตาริก้า ค . ศ .1783 เริ่มปลูกกาแฟในประเทศเวเนซูเอล่า ที่หมู่บ้านในหุบเขาคอสตาริก้า ค . ศ .1783 เริ่มปลูกกาแฟในประเทศเวเนซูเอล่า ที่หมู่บ้านในหุบเขาคาราคัส (Caracas) ปี ค . ศ .1790 มีการปลูกกาแฟในเม็กซิโก ค . ศ .1825 มีการปลูกกาแฟในฮาวาย

โคลัมเบีย ในปลายศตวรรษที่ 18 มีการเมล็ดกาแฟจากดินแดนปกครองฝรั่งเศส มาปลูกครั้งแรกที่เมือง Cucuta ใกล้ดินแดนประเทศเวเนซูเวล่า พื้นที่ปลูกกาแฟของโคลัมเบียอยู่บนที่สูงตั้งแต่ 800-1900 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ดินเป็นดินภูเขาไฟ อุดมสมบูรณ์ ทำให้กาแฟโคลัมเบียเป็นกาแฟที่มีคุณภาพสูงแห่งหนึ่งของโลก

บราซิล จากดินแดนประเทศกิอานาของดัทช์และฝรั่งเศศ มีการพยายามนำพันธุ์กาแฟมาปลูกในบราซิล แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากทั้งดัทช์และฝรั่งเศสดูแลอย่างเข้มงวด ผู้นำเมล็ดและต้นกาแฟออกไปอาจถูกประหารชีวิตใน ค . ศ .1718 ฟรานซิสโก เดอ เมลโล (Francisco de Melo Palheta) นายทหารชาวบราซิลถูกส่งไปเจรจาเรื่องปัญหาเขตชายแดนกับดัทช์และฝรั่งเศส เขาสามารถเข้าใกล้ชิดและสนิทสนมกับนายกผู้ปกครองกิอานา ฝรั่งเศส เขาได้มีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับภรรยาของผู้ปกครอง เมื่อการเจรจาสิ้นสุดลง มีการจัดเลี้ยงภรรยาผู้ปกครองได้มอบช่อดอกไม้ที่มีต้นกาแฟจำนวน 5 ต้น และผลกาแฟจำนวน 30 เมล็ดบรรจุในถุงเล็กๆ ซ่อนอยู่ในช่อดอกไม้ เมื่อกลับมายังบราซิล เขาลาออกจากการเป็นทหารและปลูกกาแฟทำสวนอยู่ริมแม่น้ำ Ubituba จนในปี ค . ศ .1727 กาแฟเริ่มให้ผลผลิต และในปี ค . ศ .1733 กาแฟจำนวน 50 ถุงถูกส่งไปยังโปรตุเกสในระยะแรกกาแฟไม่ค่อยได้รับความสนใจมากเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมน้ำตาลจากอ้อย จนกระทั่งนโปเลียน สนับสนุนการทำน้ำตาลจากหัวบีท ทำให้ความต้องการกาแฟในยุโรปและอเมริกา บราซิลมีพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกกาแฟและยังมีทาสใช้แรงงาน ทำให้มีการขยายพื้นที่ปลูกเป็นสวนขนาดใหญ่ (estate) ขึ้นอย่างมากมายรวดเร็ว ต่อมาเมื่อมีการเลิกทาส เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงาน ทำให้ผลผลิตลดลงอย่างมาก รัฐบาลบราซิล จึงได้มีการฟื้นฟูโดยสนับสนุนให้ชาวยุโรป เช่น โปรตุเกส เยอรมัน เข้ามาตั้งถิ่นฐานดำเนินการทำสวนกาแฟ โดยมีรัฐบาลช่วยดูแล มีการเปิดพื้นที่ปลูกใหม่ โดยปลูกเป็นสวนขนาดใหญ่อยู่แถบรัฐเซาเปาโลและขยายออกไปทางตะวันตกและทางใต้ของประเทศจนปัจจุบันบราซิลเป็นผู้ผลิตกาแฟรายใหญ่ที่สุดของโลก

อินเดีย กาแฟเป็นพืชหวงห้ามของชาวอาหรับ ประมาณ ค . ศ .1600 นายบาบา บูดาน (Baba Budan) นักแสวงบุญชาวอินเดียลักลอบนำเมล็ดหรือผลกาแฟจำนวน 7 เมล็ด ซุกซ่อนในเสื้อคลุมจากเมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบียมาปลูกแถบเนินเขาใกล้เมือง Chikmagalur เมืองไมซอร์ (Mysore) ต่อมากาแฟได้แพร่กระจายไปส่วนอื่นๆ ของอินเดีย จนกระทั่งในปี ค . ศ .1823 อังกฤษมีการพัฒนาปลูกกาแฟแบบสวนขนาดใหญ่ (estate) ใกล้ๆ กัลกัตตา ปี ค . ศ .1830 มีการสร้างสวนกาแฟที่เป็นระบบสมบูรณ์แห่งแรกของนาแคนนอน ที่เมือง Chilmuglur ในช่วงเวลาต่อมาสวนกาแฟขนาดใหญ่มีการขยายไปจนถึงทางใต้ของอินเดียแถบไมซอร์ คูนอร์ มัทราส ประมาณ ปี ค . ศ .1900 มีการนำเมล็ดกาแฟพันธุ์โรบัสต้าจากอินโดนีเซียมาปลูกในอินเดีย ปัจจุบันอินเดียมีทั้งผลผลิตกาแฟพันธุ์โรบัสต้าและอาราบิก้า

อินโดนีเซีย ในปี ค . ศ .1696 นิโคลัส วิทเสน ผู้จัดการบริษัทดัชท์อินเดียตะวันออก ได้นำต้นกาแฟจากมาลาบาร์ (Malabar) รัฐเคลาล่า ประเทศอินเดีย ไปปลูกที่เกาะชวา เริ่มปลูกที่ Kedawoeng estate ใกล้ๆ เมืองปัตตาเวีย ( จาร์การ์ต้า ) ในปี ค . ศ .1699 สวนกาแฟประสบความเสียหายเนื่องจากแผ่นดินไหวและน้ำท่วมในปีเดียวกันนี้มีการนำต้นการแฟอาราบิก้าจากมาลาบาร์ของอินเดียมาปลูกอีกครั้ง กาแฟอาราบิก้าจึงได้รับการส่งเสริมพัฒนาขึ้น จนในปี ค . ศ .1711 มีรายงานว่าได้มีการเก็บเกี่ยวกาแฟนำไปขายในตลาดประมูลสินค้าที่เนเธอร์แลนด์ ปี ค . ศ .1880-1899 มีการระบาดของโรคราสนิม ทำให้ไม่สามารถ ที่จะปลูกกาแฟอาราบิก้าให้ได้ผล จึงได้มีการเปลี่ยนพันธุ์กาแฟมาเป็นโรบัสต้า และลิเบอริก้า ในปี ค . ศ .1900 ได้มีการส่งต้นกาแฟโรบัสต้า 150 ต้นจากประเทศเบลเยี่ยมไปเกาะชวา ต่อมากาแฟโรบัสต้ารับการส่งเสริมและขยายการผลิตในอินโดนีเซียจนประสบความสำเร็จ สามารถผลิตและส่งออกไปขายในตลาดโลกได้