วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

มหาวิทยาลัยศิลปากร

ชื่อ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ชื่อ (อังกฤษ) Silpakorn University (SU)
ก่อตั้ง 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486
ประเภทสถาบัน รัฐ
อธิการบดี รศ. ดร. วิวัฒน์ชัย อัตถากร
คำขวัญ Ars longa vita brevis(ไม่เป็นทางการ)
เพลงประจำสถาบัน Santa Lucia
ต้นไม้ประจำสถาบัน ต้นจัน
สีประจำสถาบัน เขียวเวอร์ริเดียน
ที่ตั้ง/วิทยาเขต 22 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170

เป็นมหาวิทยาลัยในประเทศไทย มีชื่อเสียงทางด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรม และโบราณคดี ปัจจุบันเปิดสอนครอบ คลุมทุกสาขาวิชา ศิลปากรเป็นนามที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชดำรัส ณ วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2445 ว่า กรมช่างอย่างปราณีตนั้นชื่อกรมศิลปากร โดยให้ผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อพระเจ้าแผ่นดินอันทำให้ชื่อศิลปากรนี้เป็นชื่อของมหาวิทยาลัยศิลปากรมาจนทุกวันนี้

ประวัติของมหา ' ลัย

มหาวิทยาลัยศิลปากร เดิมคือ โรงเรียนปราณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร ท่านศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี (เดิมชื่อ Corrado Feroci) ชาวอิตาเลียน ซึ่งเดินทางมารับราชการในประเทศไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ร่วมกับคุณพระสาโรช รัชตมินมานก์ (สาโรช สุขยางค์) ท่านทั้งสองได้ก่อตั้งโรงเรียนปราณีตศิลปกรรมขึ้นในปีพ.ศ. 2476 ใช้ พื้นที่วังกลาง และวัง ตะวันออก หน้าพระบรมมหาราชวังเป็นที่ตั้งของโรงเรียนแห่งนี้ เปิดสอนให้แก่ข้าราชการและนักเรียนใน สมัยนั้นโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน ต่อมาปีพ.ศ. 2478 ได้รวมเอาโรงเรียนนาฏยดุริยางคศาสตร์ ที่ตั้งอยู่วังหน้าไว้ด้วย และเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า โรงเรียนศิลปากร

โรงเรียนศิลปากรได้เจริญเติบโตเป็นลำดับเรื่อยมา จนกระทั่งพระยาอนุมานราชธนร่วมกับอาจารย์ศิลป์ พัฒนาหลักสูตรจนได ้รับการยกฐานะขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 จัดตั้ง คณะจิตรกรรมและประติมากรรม ขึ้นเป็นคณะวิชา แรก (ปัจจุบันคือคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์) ในปี พ.ศ. 2498 อาจารย์ศิลป์ผลักดันให้เกิดคณะ วิชาใหม่ คือ คณะสถาปัตยกรรมไทยซึ่งมี พระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) เป็นผู้ก่อตั้ง (ซึ่งต่อมาได้ปรับหลักสูตรและเปลี่ยน ชื่อเป็น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์) คณะโบราณคดี วางรากฐานโดยหลวงบริบาล บุรีภัณฑ์ และต่อมาจึงมี คณะมัณฑนศิลป์ ซึ่งแยกตัวออกมาจากคณะจิตรกรรมฯ จากนั้น ได้ขยายพื้นที่มหาวิทยาลัยโดยได้จัดซื้อที่ดินวังท่าพระซึ่งอยู่ติดกับที่ตั้งเดิมจากทายาทสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

ปี พ.ศ. 2509 มหาวิทยาลัยศิลปากร มีนโยบายที่จะเปิดคณะวิชาและสาขาวิชาที่หลากหลายขึ้น แต่เนื่องจากบริเวณ พื้นที่ในวังท่าพระคับแคบมาก ไม่สามารถจะขยายพื้นที่ออกไปได้ จึงได้ขยายเขตการศึกษาไปยังพระราชวังสนามจันทร์ จัง หวัดนครปฐม โดยจัด ตั้งคณะวิชาต่างๆออกไปอีกหลายแขนง ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราช ทานให้กับหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล คือ "มหาวิทยาลัยศิลปากรมีคณะสถาปัตยกรรมอยู่แล้วก็ควรจะเปิดคณะวิศวกรรมร่วมไปด้วยจะได้ก้าวหน้าเร็วขึ้นหรือให้เปิดคณะดุริยางคศาสตร์ด้วย"

คณะอักษรศาสตร์ พ.ศ. 2511
คณะศึกษาศาสตร์ พ.ศ. 2513
คณะวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2515
คณะเภสัชศาสตร์ พ.ศ. 2529
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม พ.ศ. 2535
คณะดุริยางคศาสตร์ขึ้น พ.ศ. 2542 เพื่อเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความสมบูรณ์ทางด้านศิลปะมากยิ่งขึ้น พ.ศ. 2540 มหาวิทยาลัย ศิลปากร ได้ขยายเขตการศึกษาไปจัดตั้งวิทยาเขตแห่งใหม่ ที่จังหวัดเพชรบุรี เพื่อกระจายการศึกษาไปสู่ภูมิภาค ใช้ชื่อว่า "วิทยาเขตสารสนเทศ เพชรบุรี" จัดตั้ง
คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ในปี พ.ศ. 2544
คณะวิทยาการจัดการ ในปี พ.ศ. 2545
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในปี พ.ศ. 2546 และ วิทยาลัยนานาชาติ ในปี พ.ศ. 2546
มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ขยายงานในระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2515 โดยการจัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัยขึ้น เพื่อรับผิดชอบในการ ดำเนินการ

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

ตราสัญลักษณ์

พระพิฆเนศวร เป็นเทพเจ้าแห่งศิลปวิทยาการและการประพันธ์ พระหัตถ์ขวาบนถือตรีศูล พระหัตถ์ขวาล่างถืองาช้าง พระหัตถ์ซ้ายบนถือ ปาศะ(เชือก) พระหัตถ์ซ้ายล่างถือครอบน้ำ ประทับบนลวดลายกนก ภายใต้มีอักษรว่า "มหาวิทยาลัยศิลปากร" ประกาศใช้เมื่อ 25 กรกฎาคม 2494

สีประจำมหาวิทยาลัย

เขียวเวอร์ริเดียน เป็นสีของน้ำทะเล

เพลงประจำมหาวิทยาลัย

Santa Lucia เป็นเพลงที่อาจารย์ศิลป์ชอบร้อง และฮัมเพลงนี้บ่อย ๆ ขณะที่ท่านกำลังทำงานทางศิลปะ

ปณิธาน

มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นแหล่งค้นคว้าวิจัย รวบรวมถ่ายทอดความรู้และศิลปวิทยาการชั้นสูง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยม ีเป้าหมายในการผลิตบัณฑิตทุกระดับปริญญาให้มีภูมิปัญญาสูง มีความคิดสร้างสรรค์ยึดมั่นในคุณธรรม เพียบพร้อมด้วยจรรยาบรรณ และ จิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม
มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลางทางวิชาการ บนพื้นฐานการอนุรักษ์ พัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย ตามหลักเสรีภาพทางวิชา การเพื่อประโยชน์ของชุมชนในภูมิภาคตะวันตก ประเทศชาติ และมวลมนุษยชาติ

สถานที่ตั้งหรือวิทยาเขต

สำนักงานอธิการบดี ตลิ่งชัน เป็นที่ตั้งของคณะดุริยางคศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย และสาขาวิชาการออกแบบมัลดิมีเดีย วิทยาลัยนานาชาติ

วังท่าพระ

ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน ตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง มีพื้นที่ประมาณ 8 ไร่ เดิมเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นที่ตั้งของคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ (ชั้นปีที่ 3-5) คณะโบราณคดี และคณะมัณฑนศิลป์

วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

ตั้งอยู่ในบริเวณพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม ซึ่งเคยเป็นพระราชวังของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว มีพื้นที่ประมาณ 428 ไร่ เป็นที่ตั้งของคณะอักษรศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (ชั้นปีที่ 1-2)

วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี เป็นวิทยาเขตแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีการออกแบบอาคารและวางแผนแม่บทให้ ประหยัด พลังงาน และรักษาสภาพแวดล้อม (Clean and Green Campus) โดยอาคารทุกหลังจะสูงไม่เกิน 5 ชั้น ใช้บันไดติดต่อ สัญจรทางตั้ง โดยไม่ต้องใช้ลิฟท์ ออกแบบโดยการใช้หลักการในการประหยัดพลังงาน ทั้งในเรื่องการลดความร้อน การใช้ แสงสว่าง และลมธรรมชาติ รวมทั้งการนำของเสีย และพลังงาน หมุนเวียนมาใช้ประโยชน์
การวางผังจะให้รถยนต์จอดที่ด้านหน้าวิทยาเขต แต่ภายในจะใช้จักรยาน ทางเดิน และรถไฟฟ้าเท่านั้น ถนนทุกสาย รวมทั้งการเดินเท้า ร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงาตลอดทุกสาย ทางเดินติดต่อระหว่างอาคารที่สำคัญมีหลังคาคลุมกันแดด และฝน มีคลองเรียบถนนสายหลัก มีสระน้ำ คูน้ำ บ่อน้ำ และบึง กระจายอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ทางเดินติดต่อของบ้าน พักอาจารย์ และข้าราชการ เป็นสะพานลอย เช่นเดียวกับหมู่บ้านชาวประมง เพราะอยู่บนที่ราบลุ่มมีน้ำท่วมถึง การใช้สะพาน เป็นทางเดินติดต่อจะช่วยรักษา ระบบนิเวศน์ได้ เป็นอย่างดี เมื่อจัดทำภูมิสถาปัตยกรรมเสร็จเรียบร้อย จะเป็นวิทยาเขตที่งด งาม และปราศจากมลพิษ (ปัจจุบันวิทยาเขตไม่สามารถดำ เนินการได้ตามแผนทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากมีข้อขัดข้องบางประการ โดยเฉพาะการขยายตัวอย่างรวดเร็วของการรับนักศึกษาเข้าเรียนและการขาดแคลนงบประมาณ จึงยังไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนดไว้)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น