วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Louis Pasteur

ประวัติ

หลุยส์ ปาสเตอร์ เกิดในปี ค.ศ.1822 ที่เมืองเล็กๆในประเทศฝรั่งเศส บิดาของเขาต้องการให้หลุยส์ เป็นครูจึงส่งเข้าไปเรียนที่กรุงปารีส จนสำเร็จการศึกษาและได้เป็นอาจารย์สอนมหาวิทยาลัยเมื่ออายุได้32ปี จุลชีพเป็นสิ่งที่ปาสเตอร์สนใจมากทุกคนรู้ว่าเนื้อจะเน่าเปื่อยหากทิ้ง เนื้อไว้กลางแจ้งและทุกคนสามารถมองเห็นตัวจุลชีพในเนื้อได้ด้วย กล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายมากแต่ไม่มีใครรู้ว่าจุลชีพมาจากที่ใด นักวิทยาศาสตร์หัวโบราณคิดว่าเนื้อเน่าทำให้เกิดพวกมัน แต่ปาสเตอร์ ไม่ค่อยแน่ใจนัก เขากลับไปยังวิทยาลัยที่เคยเรียนในกรุงปารีสซึ่งเขา ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการทางวิชาวิทยาศาสตร์ เขาใช้เวลา ทั้งหมดของเขาทำการค้นคว้าเรื่องจุลชีพ ในที่สุดหลุยส์ก็ค้นพบว่า จุลชีพนั้นเกิดจากฝุ่นละอองที่ลอยอยู่ในอากาศมิใช่มาจากอาหารที่ บูดเน่า เขาพิสูจน์โดยการนำเอาขวดซุปเนื้อขึ้นไปบนภูเขาแอลป์ซึ่ง มีอากาศบริสุทธิ์และไม่มีฝุ่นละอองเขาเปิดขวดเหล่านั้นและปล่อยทิ้งไว้ เขาพูดถูกน้ำซุปไม่เสีย บนหิ้งต่างๆของพิพิธภัณฑ์ปาสเตอร์ในกรุงปารีส มีขวดปิดไว้ซึ่งจัดทำขึ้นโดยปาสเตอร์น้ำซุปเนื้อในนั้นยังคงไม่บูดเน่า หลังจากนานกว่าร้อยปี การค้นคว้านี้ทำให้เกิดอาหารกระป๋องที่เรา รู้จักกันทุกวันนี้ ต่อมาปาสเตอร์ได้ทำการทดลองเพื่อหาวิธีรักษา โรคกลัวน้ำ หลังจากทำการทดลองที่เสี่ยงอันตรายหลายครั้งเขาก็ ประสบผลสำเร็จซึ่งการค้นพบวิธีรักษาโรคกลัวน้ำใหความหวังแก่ ผู้คนในหลายประเทศ หลุยส์ ปาสเตอร์ถึงแก่กรรมในปี ค.ศ.1895 มีผู้คนมากมายโศกเศร้าต่อการเสียชีวิตของเขา เขาไม่เพียงแต่เป็น นักวิทยาศาสตร์เท่านั้นแต่ยังเป็นบุคคลสำคัญอีกด้วย


วันหนึ่ง ๆ นั้นช่างยาวนานเหลือเกิน สำหรับผู้คนที่ยากจนที่อาศัยอยู่ตามหมู่บ้านเชิงเขาชื่อ ยูรา (Jura) ในประเทศฝรั่งเศส ลำพังแต่เสียงเห่าหอนของสุนัขป่าบ้าคลั่งที่ดังมาแต่ไกล ก็เพียงพอที่จะสะกดให้ทุกคนรีบวิ่งเข้าบ้าน ปิดประตูลงกลอน จะโผล่ออกมาอีกครั้งก็ต่อเมื่อเสียงนั้นค่อยๆ จางหายไปในป่าทึบแล้ว

ช่างเป็นเหตุบังเอิญอะไรเช่นนั้น ที่มีชายฝรั่งเศสตระกูลต่ำต้อยคนหนึ่งตั้งแต่วัยเด็กมาแล้ว ก็ได้ยินเสียงเห่าหอนของสุนัขป่า และก็ต้องคอยวิ่งหนีเข้าบ้าน เช่นเดียวกับคนอื่นๆ ในหมู่บ้านเดียวกัน. อย่างไรก็ดีทั้ง ๆ ที่พยายามกักตัวเองอยู่แต่ภายในบริเวณลานตากหนังสัตว์ของบิดาซึ่งมีอาชีพเป็นช่างฟอกหนัง แต่เขาก็ได้กลายเป็นนักค้นพบผู้ยิ่งใหญ่ สามารถช่วยชีวิตมนุษย์นับแสนนับล้านคน มิให้ตกเป็นเหยื่อของโรคพิษสุนัขบ้า ที่ในสมัยนั้นถือว่า ถ้าใครถูกพิษของมันเข้าแล้ว ก็เท่ากับต้องคำพิพากษาให้ประหารชีวิต

อาการเช่นนี้ มิใช่เกิดเฉพาะแต่ในประเทศฝรั่งเศสแห่งเดียว...ทุกแห่งที่มีสุนัข ไม่ว่าจะเป็นสุนัขป่าหรือสุนัขบ้าน เมื่อมันเกิดเป็นบ้าขึ้นมา เที่ยวกัดใครต่อใคร ทุกคนที่ถูกพิษของมัน จะไม่มีทางรอด...นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ต่างตระหนักถึงพิษภัยร้ายกาจนี้ และพยายามค้นคว้าเพื่อหาทางเอาชนะโรคร้ายนี้ให้จงได้

ในบรรดานักวิทยาศาสตรที่ศึกษาค้นคว้านี้ก็มีหลุยส์ปาสเตอร์(Louis Pasteur) รวมอยู่ด้วย. ท่านเป็นนักบัคเตรีวิทยา. ท่านได้ค้นพบยาที่รักษาโรคพิษสุนัขบ้าได้ชะงัดว่าเพื่อน. ที่คลินิกท่านที่กรุงปารีส ในช่วง 12 เดือนของปี 1886 มีคนไข้ที่ถูกพิษสุนัขบ้ามาขอรับการรักษา 2,671 ราย. มีเพียง 25 รายเท่านั้นที่เสียชีวิต...นอกนั้นได้รับการรักษาให้หายทั้งหมดเรียกว่าหายกว่า 99%. ในระยะต่อๆ มา หลังจากที่ได้มีการปรับปรุงคุณภาพของยาให้ดีขึ้น เปอร์เซ็นต์การหายจากโรคก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นกว่านี้อีก...ชื่อเสียงของท่านจึงขจรขจายไปยังประเทศต่างๆ

แผนการรักษาของท่านได้นำไปปฏิบัติตามประเทศต่างๆ และเป็นที่ยอมรับกันในวงการแพทย์ว่าเป็นการรักษาโรคพิษสุนัขบ้าที่ได้ผลชะงัดที่สุด. ผู้ป่วยบางคนที่มีฐานะการเงินดี ไม่ว่าจะอยู่ห่างไกลเพียงไร ก็ยังอุตส่าห์ดั้นด้นมาให้ท่านปาสเตอร์รักษาดังเช่นเยาวชนอเมริกัน 4 คน อยู่ถึงนิวยอร์ก ยังอุตส่าห์มาให้ท่านปาสเตอร์รักษา...เพียงไม่กี่วัน ก็หายเป็นปรกติ ยิ้มกลับบ้านได้

นอกจากค้นพบยาแก้โรคพิษสุนัขบ้าแล้วท่านปาสเตอร์ยังค้นพบว่าความร้อนสามารถฆ่าจุลินทรีย์ได้...นักวิทยาศาสตร์จึงได้นำเอาความรู้ไปใช้ ก่อให้เกิดคุณประโยชน์มหาศาลแก่วงการแพทย์ และ นักวิทยาศาสตร์เรียกวิธีการฆ่าเชื้อแบบนี้ในภาษาอังกฤษว่า

ปาสเจอไร้ส์” (Pasteurize) คือใช้ชื่อของท่านมาทับศัพท์นั่นเอง...วิทยาการนี้เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราอย่างใกล้ชิด เช่นนมสดที่รีดจากแม่โคนมใหม่ ๆ ต้องผ่านปาสเจอไร้ส์ คือผ่านความร้อนที่อุณภูมิหนึ่ง ชั่วระยะเวลาหนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ นมสดจึงจะเก็บไว้ได้นานไม่เสีย

ในสมัยท่านปาสเตอร์ กสิกรเลี้ยงไหมทางภาคใต้ฝรั่งเศส ต้องประสบปัญหากับโรคระบาดชนิดหนึ่งที่เกิดกับตัวไหม ทำให้ลำตัวเป็นจุดๆ เรียกว่า โรคเปบรีน (Pebrine) และตายไปในที่สุด. อุตสาหกรรมไหมได้รับการกระทบกระเทือนอย่างหนัก...ท่านปาสเตอร์ใช้เวลาศึกษาค้นคว้าอยู่ถึง 5 ปี จึงพบยาที่ใช้ปราบโรคเปบรีนได้ กสิกรเลี้ยงไหมได้รอดพ้น จากความหายนะก็โดยอาศัยท่านปาสเตอร์ผู้นี้

ทุกวันนี้ทั่วโลกยกย่องหลุยส์ปาสเตอร์ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์แก่สาธารณชนแต่มีอยู่สิ่งหนึ่งทุกคนมักจะมองข้ามเสีย คือความศรัทธาที่ท่านมีต่อบิดาของท่าน. ในฐานะที่บิดาของท่านมีความเชื่อในพระเจ้าอย่างแรงกล้า ตัวท่านเองก็ได้รับเอาความเชื่อนั้นเป็นมรดกตกทอดมาด้วย. ในความเปรื่องปราดของท่าน ท่านมองเห็นภาพพระผู้สร้างสะท้อนอยู่ในทุกสิ่งที่อยู่รอบกายท่าน และท่านก็อดแปลกใจไม่ได้ว่าทำไมนักวิทยาศาสตร์รุ่นราวคราวเดียวกับท่านหลายคนจึงมองไม่เห็นสัจธรรมข้อนี้.

โยเซฟปาสเตอร์ บิดาของท่านนั้นมีฐานะยากจน ประกอบอาชีพเป็นนักฟอกหนัง แต่ก็มีความศรัทธาแก่กล้าในพระศาสนาคาทอลิกเป็นอย่างยิ่ง และได้ถ่ายทอดความศรัทธานั้นให้แก่ลูกชายอย่างครบถ้วน. หลุยส์ปาสเตอร์ สมัยเมื่อเป็นเด็กๆ ชอบวาดภาพต่างๆ ไว้มาก...วันดีคืนดีโยเซฟ ปาสเตอร์ ผู้เป็นพ่อมักจะเอาภาพเหล่านั้นออกมาอวดเพื่อนๆ ...ที่แปลกก็คือทุกภาพจะต้องมีรูปกางเขนติดอยู่ อันเป็นฝีมือของปาสเตอร์ผู้พ่อ... ปาสเตอร์ผู้ลูกก็ยอมรับ...ถึงกับเล่าไว้ในจดหมายที่เขียนถึงภรรยาว่า ส่วนที่สวยที่สุดของภาพวาดเหล่านั้น ก็คือภาพกางเขนนั่นเอง.

เมื่อบิดาสุดที่รักตายไปในปี 1865 บุตรก็มีความศรัทธามาก. ตลอดเวลา 30 ปี หลังจากนั้น บุตรไม่เคยลืมบิดาเลยยังคงเฝ้าระลึกถึง อธิษฐานภาวนา และทำบุญขอมิซซาอุทิศให้บิดาตลอดเวลา. ท่านสำนึกเสมอว่าตอนท่านเป็นเด็กเป็นบิดาเองที่คอยกีดกันมิให้ท่านคลุกคลีกับเพื่อนที่ไม่ดี, หัดให้ท่านขยันขันแข็งในการทำงานและมีความซื่อสัตย์สุจริตอย่างไม่มีที่ติ,มีความเชื่อมั่นในพระเป็นเจ้า และท่านก็ปฏิบัติอย่างครบถ้วน

ท่านเองคือ1ในนักวิทยาศาสตร์ ที่ทำให้เหล่านักนิยมทฤษฎีที่เชื่อว่าสิ่งมีชีวิตเกิดได้เอง รวมทั้งผู้นิยมชาร์ล ดาร์วิน ต้องกลับไปคิดทบทวนใหม่ เพราะท่านได้ทำการทดลองพิสูจน์ว่า สิ่งมีชีวิต ไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้ ในสมัยนั้นผู้นิยมทฤษฎีวิวัฒฒนาการของ ชาร์ล ดาวิน มักอ้างว่าสิ่งมีชีวิตเกิดเองได้ไม่จำเป็นต้องมีพระเจ้า เช่นถ้าเราทิ้งเนื้อไว้เฉยๆ จะเกิดหนอนขึ้นมา แปลว่าหนอน(สิ่งมีชีวิต)เกิดจากก้อนเนื้อ(ไม่มีชีวิต)ได้ ถ้าหากมีอาหาร และมีอุณหภูมิเหมาะสม แต่50ปีต่อมา หลุยส์ ปาสเตอร์ ก็ได้พิสูจน์ โดยการเก็บเนื้อ2ชิ้น ชิ้นหนึ่งวางทิ้งไว้ ชิ้นหนึ่งเก็บไว้ในที่ปิดมิดชิด ปรากฎว่าเนื้อที่เก็บในครอบแก้วอย่างไรก็ไม่มีทางเกิดหนอน ท่านอธิบายว่าไม่มีสิ่งมีชีวิตใดๆเกิดเองได้ หนอนนั้น เกิดจากแมลงวันที่มาตอมชิ้นเนื้อแล้ววางไข่ไว้ต่างหาก

ท่านปาสเตอร์แม้ว่าตอนนั้น จะมีชื่อเสียงโด่งดังมากแล้ว แต่ท่านก็ยังคงเป็นคนสุภาพถ่อมตน เจริญชีวิตแบบเรียบง่าย. มีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่งท่านกลับจากการประชุมนักวิทยาศาสตร์ครั้งสำคัญที่กรุงปารีส มีนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงจากทั่วโลกมาร่วมประชุม...เมื่อเสร็จสิ้นการประชุมแล้วต่างก็แยกย้ายกันกลับบ้าน...ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่จะมาในมาดใหม่ๆ ทั้งสิ้น ไปมาโดยเครื่องบินส่วนตัว, มีรถยนต์คันงามรับส่ง

แต่สำหรับท่านปาสเตอร์แล้วท่านโดยสารรถไฟชั้นธรรมดา ขณะมากลางทาง พบเด็กหนุ่มคนหนึ่งท่าทางเป็นคนฉลาดปราดเปรียวและหยิ่งผยองและถูกลัทธิอเทวนิยมล้างสมอง. เมื่อเห็นท่านสุภาพบุรุษสูงอายุ น่าเคารพนั่งอยู่คนเดียว นัยน์ตามองออกไปทางหน้าต่าง มือขวาถือสายประคำ. เด็กหนุ่มคนนั้นก็ปราดเข้ามาทักทายพลางแนะนำตัวเองเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย พร้อมกับกล่าวอย่างเยาะเย้ยว่า

ลุงยังเชื่อสิ่งที่ถืออยู่ในมือหรือ?”

ท่านปาสเตอร์ไม่ตอบว่ากระไร ส่วนเจ้าหนุ่มยังไม่ยอมแพ้ คงเซ้าซี้ชวนท่านคุยเละแจ้งความประสงค์อยากจะรู้จักชื่อเสียงเรียงนามของท่าน
ท่านปาสเตอร์อดรนทนไม่ได้ก็จำใจหยิบนามบัตรขึ้นมาใบหนึ่งส่งให้เด็กหนุ่มคนนั้น...พอเห็นชื่อ หลุยส์ ปาสเตอร์เท่านั้น ถึงกับหน้าถอดสีละล่ำละลักกล่าวคำขอโทษและรีบขอตัวจากไป

หลุยส์ ปาสเตอร์ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 28 กันยายน 1895 ในมือยังคงถือสายประคำอยู่ ท่ามกลางการห้อมล้อมของสมาชิกในครอบครัว, ลูกศิษย์ลูกหาที่รักใคร่เคารพในตัวท่าน...ในช่วงที่อาการของท่านทรุดหนัก จนไม่สามารถอ่านหนังสือด้วยตนเองได้แล้ว ท่านก็ขอให้คนอ่านชีวประวัติของท่านนักบุญ วินเซนต์ เดอปอล บุตรชาวนาผู้ยากจนเช่นเดียวกับท่าน. แต่ได้บำเพ็ญประโยชน์แก่ชาวโลก มากมายเหลือคณานับ. ท่านเองก็หวังว่า ผลงานของท่านคงจะได้ช่วยให้คนเป็นอันมาก ได้พ้นทุกข์ทรมาน เป็นต้นพวกเด็กๆ และคนยากจนทั้งหลาย

บนหีบศพของท่าน ภายในโบสถ์บริเวณสถาบันปาสเตอร์ (Pasteur Institute) ที่กรุงปารีสมีข้อความที่คัดมาจากบทประพันธ์ของนักวิทยาศาสตร์จารึกไว้ดังนี้

ผู้ที่ธำรงฉายาลักษณ์พระเจ้าและเจริญชีวิตตามนั้น คือความงามที่ล้ำเลิศ, วิทยาการที่ทรงคุณค่า, ความภาคภูมิของประเทศชาติ และคุณธรรมแห่งพระคริสตธรรม






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น