วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เลขโรมัน

เลขโรมัน

เลขโรมัน เป็นระบบตัวเลขที่ใช้ในโรมโบราณ เลขโรมันถือเป็น ระบบเลขไม่มีหลัก หมายความว่า ไม่ว่าจะเขียนตัวเลขแต่ละตัวไว้ ณ ตำแหน่งใดของค่าตัวเลขนั้นจะมีค่าคงที่เสมอ ระบบเลขโรมันมีสัญลักษณ์ที่ใช้กันดังนี้

I หรือ i มีค่าเท่ากับ 1

V หรือ v มีค่าเท่ากับ 5

X หรือ x มีค่าเท่ากับ 10

L หรือ l มีค่าเท่ากับ 50

C หรือ c มีค่าเท่ากับ 100

D หรือ d มีค่าเท่ากับ 500

M หรือ m มีค่าเท่ากับ 1,000

นอกจากนี้ ยังมีสัญลักษณ์อื่นที่ไม่ได้ใช้ในระบบเลขโรมันปัจจุบัน แต่ปรากฏอยู่ในรหัสยูนิโคด ดังนี้

(U+2180) มีค่าเท่ากับ 1,000

(U+2181) มีค่าเท่ากับ 5,000

(U+2182) มีค่าเท่ากับ 10,000

(U+2187) มีค่าเท่ากับ 50,000

(U+2188) มีค่าเท่ากับ 100,000

การเขียนเลขโรมัน

การเขียนเลขโรมัน สามารถเขียนแทนเฉพาะจำนวนเต็มบวกเท่านั้น เนื่องจากในสมัยก่อนโรมยังไม่มีสัญลักษณ์แทนเลขศูนย์หรือเลขทศนิยม โดยให้เขียนจากสัญลักษณ์ที่มีค่ามากแล้วลดหลั่นกันไปยังสัญลักษณ์ที่มีค่าน้อย เช่น

§ MCCCXXV มีค่าเท่ากับ 1,000 + 300 + 20 + 5 = 1,325

§ MMMDLXVII มีค่าเท่ากับ 3,000 + 500 + 60 + 7 = 3,567

ถ้าเขียนสัญลักษณ์ที่มีค่าน้อยกว่าไว้ด้านหน้าสัญลักษณ์ที่มีค่ามากกว่า ค่าของจำนวนที่ได้จะมีค่าเท่ากับจำนวนที่มีค่ามากลบด้วยจำนวนที่มีค่าน้อย และจะเขียนสัญลักษณ์เพียงคู่เดียวในแต่ละหลักเท่านั้น เช่น

§ IX มีค่าเท่ากับ 10 − 1 = 9

§ XL มีค่าเท่ากับ 50 − 10 = 40

§ MCMLXXVII มีค่าเท่ากับ 1,000 + (1,000 − 100) + 70 + 7 = 1,977

§ MMCDLXVIII มีค่าเท่ากับ 2,000 + (500 − 100) + 60 + 8 = 2,468

จำนวนที่มีค่าเกินกว่าที่กำหนดไว้ตามสัญลักษณ์ดังกล่าว จะเขียน บาร์ (ขีด) ไว้บนสัญลักษณ์เหล่านี้ ซึ่งหากบาร์ถูกกำหนดไว้บนสัญลักษณ์ใด สัญลักษณ์นั้นจะแทนจำนวนซึ่งมีค่าเท่ากับสัญลักษณ์นั้นคูณด้วย 1,000 เช่น

§ V มีค่าเท่ากับ 5 × 1,000 = 5,000

§ X มีค่าเท่ากับ 10 × 1,000 = 10,000

§ L มีค่าเท่ากับ 50 × 1,000 = 50,000

§ C มีค่าเท่ากับ 100 × 1,000 = 100,000

§ D มีค่าเท่ากับ 500 × 1,000 = 500,000

§ M มีค่าเท่ากับ 1,000 × 1,000 = 1,000,000

โดยปกติแล้ว การเขียนเลขโรมันจะไม่เขียนสัญลักษณ์เดียวกันอยู่ติดกันตั้งแต่ 4 ตัวขึ้นไป ยกเว้นบนหน้าปัดนาฬิกา ที่จะใช้ IIII แทนเวลา 4 นาฬิกาหรือ 16 นาฬิกา เพื่อป้องกันความสับสนในการอ่านเวลา


ตัวอย่างการเขียนเลขโรมัน


เลขโรมัน

เลขอารบิก

ค่าของตัวเลข

เลขโรมัน

เลขอารบิก

ค่าของตัวเลข

I

1

หนึ่ง

C

100

หนึ่งร้อย

II

2

สอง

CC

200

สองร้อย

III

3

สาม

CCC

300

สามร้อย

IV

4

สี่

CD

400

สี่ร้อย

V

5

ห้า

D

500

ห้าร้อย

VI

6

หก

DC

600

หกร้อย

VII

7

เจ็ด

DCC

700

เจ็ดร้อย

VIII

8

แปด

DCCC

800

แปดร้อย

IX

9

เก้า

CM

900

เก้าร้อย

X

10

สิบ

M

1,000

หนึ่งพัน

XI

11

สิบเอ็ด

MM

2,000

สองพัน

XII

12

สิบสอง

MMX

2,010

สองพันสิบ

XX

20

ยี่สิบ

MMDLIII

2,553

สองพันห้าร้อยห้าสิบสาม

XXX

30

สามสิบ

MMM

3,000

สามพัน

XL

40

สี่สิบ

MMMCMXCIX

3,999

สามพันเก้าร้อยเก้าสิบเก้า

L

50

ห้าสิบ

LX

60

หกสิบ

LXX

70

เจ็ดสิบ

LXXX

80

แปดสิบ

XC

90

เก้าสิบ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น